Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

นกในทวีปอเมริกาเหนือตัวเล็กลง เชื่อเป็นผลจาก 'โลกร้อน'   

มีงานศึกษาที่เก็บซากนกในเมืองชิคาโก้มาวัดขนาด พบว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา นกเหล่านี้มีขนาดตัวที่ลดลง นักวิชาการเชื่อว่านี่คือผลกระทบที่เป็นรูปธรรมในเชิงชีวภาพจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น สำนักข่าว Reuters รายงานว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 นักวิจัยได้เก็บซากนกจำนวนหลายหมื่นตัว ระหว่างที่พวกมันบินอพยพย้ายถิ่นฐานช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งนกเหล่านี้มักจะตายจากการชนตึกในมหานครชิคาโก้ พวกเขาพบว่านกที่เก็บได้มีขนาดตัวที่เล็กลง รายละเอียดของการศึกษานี้เกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลระหว่าง พ.ศ. 2521 และ ปี พ.ศ. 2559 โดยผู้ศึกษาทำการเก็บซากนกที่เสียชีวิตจากการชนตึกในเมืองชิคาโก้ได้ทั้งสิ้น 70,716 ตัว เป็นนกที่มาจาก 52 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นนกในสายพันธุ์ร้องเพลงหรือ songbirds เช่น นกกระจอก นกกระจิ๊ด และนกเอี้ยง ซึ่งนกเหล่านี้จะผสมพันธุ์ในเขตหนาวของทวีปอเมริกาเหนือ ก่อนจะบินอพยพมาใช้เวลาช่วงฤดูหนาวในพื้นที่ตอนใต้ของเมืองชิคาโก้ นักวิจัยทำการวัดขนาดและชั่งน้ำหนัก พบว่าขนาดตัวของซากนกที่เก็บได้มีค่าเฉลี่ยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทว่าการวัดความยาวจากปลายปีกทั้งสองข้างกลับเจอว่ามีค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น นักวิจัยชี้ขนาดตัวที่เล็กลงของนกในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งอาจเชื่อได้ว่านี่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก มาจากผลกระทบของอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งพวกเขาได้อ้างอิงความสอดคล้องกับกฎ Bergmann's rule ที่อธิบายว่า สัตว์ที่อาศัยในเขตหนาวจะมีขนาดใหญ่กว่าสัตว์ในสายพันธุ์ใกล้กันที่อาศัยในเขตร้อน ทำให้สรุปได้ว่าขนาดตัวของสิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มจะหดตัวลงเมื่ออุณหภูมิปรับสูงขึ้น ตลอดเกือบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ซากนกทั้ง 52 สายพันธุ์มีขนาดตัวที่ลดลง น้ำหนักเฉลี่ยโดยรวมลดลง 2.6% ความยาวของกระดูกขาลดลง 2.4% ในขณะที่ความยาวจากปลายปีกทั้งสองข้างปรับเพิ่มขึ้น 1.3% ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ว่า การปรับตัวทางด้านกายภาพของนกเหล่านี้เป็นไปเพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ ทำให้บินอพยพในระยะทางที่ไกลแม้ตัวของพวกมันจะเล็กลง ทางด้านเจ้าของงานวิจัยชิ้นนี้ Brian Weeks นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัย University of Michigan คณะสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศก่อให้เกิดการเปลี่ยนทั้งด้านรูปร่างและขนาดของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้” เขายังกล่าวเพิ่มอีกว่า “การที่มนุษย์กำลังขับเคลื่อนโลกไปด้วยความเร็วและขยายความเจริญอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน การตอบสนองเชิงชีวภาพของธรรมชาติโดยรวม ก็กำลังปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปด้วย” ส่วน Dave Willard เจ้าหน้าพิเศษแห่งพิพิธภัณฑ์ Field Museum ในเมืองชิคาโก้ ผู้ทำการตรวจสอบซากนกบอกว่า “เราต่างรู้ดีว่าอุณหภูมิโลกปรับสูงขึ้น และวันนี้เราเห็นตัวอย่างได้ชัด สำหรับผลกระทบที่มันเกิดขึ้นในธรรมชาติ ” การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งที่ทำการตีพิมพ์ในเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ ให้ข้อมูลใหม่ที่น่ากังวลสำหรับนกในทวีปอเมริกาเหนือ โดยระบุว่าจำนวนประชากรนกในประเทศสหรัฐฯ และประเทศแคนาดา ปรับลดลงจากปี พ.ศ. 2513 ร้อยละ 29 หรือคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 2.9 พันล้านตัว Voice of America 9.12.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร