Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

พัฒนา “โบรอนอินทรีย์” เภสัชรังสีตรวจวินิจฉัยมะเร็ง  

นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนาสารตั้งต้นเภสัชรังสีจากสารประกอบโบรอนอินทรีย์ สำหรับใช้จับสัญญาณมะเร็งด้วยเครื่องเพทสแกน ชูจุดเด่นที่กระบวนการเตรียมสารใช้สภาวะที่ไม่รุนแรง ทำให้จำเพาะกับเซลล์มะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ และมีความคงตัว ก่อนต่อยอดงานวิจัยโดยเพิ่มสารเรืองแสง หวังเป็นไกด์นำทางแพทย์ผ่าตัดรักษามะเร็งได้แม่นยำยิ่งขึ้น และปูทางเภสัชรังสีพันธุ์ไทย ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ดร.กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ ทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซ็นเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)กล่าวว่า ปกติแล้ว สารเภสัชรังสีที่ใช้เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคในทางการแพทย์ของประเทศไทย จะต้องนำเข้าวัตถุดิบที่เป็นสารตั้งต้นจากต่างประเทศ ก่อนจะผ่านเครื่องไซโคลตรอนเพื่อผลิตเภสัชรังสี สารเภสัชรังสีนั้นต้องเติมฟลูออรีน-18 ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในเทคนิคโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี (Positron Emission Tomography; PET) หรือเรียกสั้นๆ ว่าเทคนิคเพท สำหรับเครื่องเพทสแกน ซึ่งเทคนิคโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี หรือเพทสแกน เป็นเทคนิคที่มีความสำคัญมากในการวินิจฉัยทางการแพทย์ เช่น การวินิจฉัยโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคความจำเสื่อม โดยเทคนิคดังกล่าวต้องอาศัยการฉีดสารเภสัชรังสีที่เตรียมได้จากธาตุไอโซโทปรังสี ได้แก่ ฟลูออรีน-18 ให้กับผู้ป่วย เพื่อติดตามโรค ปัญหาหนึ่งของการเตรียมสารเภสัชรังสีในปัจจุบัน คือ การใช้สภาวะการเตรียมที่รุนแรง เช่น มีความเป็นกรดสูงและใช้อุณหภูมิสูง ส่งผลให้สารเภสัชรังสีบางชนิดที่เป็นอนุพันธ์ของสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น เปปไทด์ โปรตีน หรือแอนติบอดี้ สลายตัว โดยปัจจุบันการแก้ปัญหาดังกล่าว สามารถทำได้โดยการติดฉลากในสารตัวกลางที่เป็นตัวรับฟลูออรีน-18 (18F captor) ก่อน แล้วจึงนำไปต่อกับโมเลกุลเปปไทด์หรือโปรตีนโดยใช้สภาวะที่ไม่รุนแรงภายหลัง ทำให้กระบวนการผลิตซับซ้อนกว่าเดิม ดร.กันตพัฒน์ จึงเริ่มงานวิจัย “สารประกอบโบรอนอินทรีย์สำหรับการประยุกต์ใช้เป็นตัวรับฟลูออรีน-18” ซึ่งเป็นการสังเคราะห์และศึกษาคุณสมบัติของสารประกอบโบรอนอินทรีย์ชนิดใหม่ ที่ถูกออกแบบเพื่อใช้เป็นตัวรับฟลูออรีน-18 สำหรับการประยุกต์ใช้ในเทคนิคเพทสแกน โดยสังเคราะห์อนุพันธ์ชนิดใหม่ของสารประกอบ 1,2-ฟีนิลีน ฟอสฟิโนบอร์เรน และสารประกอบคาร์บีน-บอร์เรน เพื่อพัฒนาสารประกอบโบรอนอินทรีย์ไปใช้ในการเตรียมสารเภสัชรังสีชนิดใหม่ หากต้องการให้สารเภสัชรังสีมีความจำเพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็งในระยะเริ่มต้น ต้องใช้โปรตีนโมเลกุลใหญ่ ซึ่งจะทำไม่ได้หากใช้กระบวนการเตรียมสารที่สภาวะรุนแรง ดังนั้น โจทย์ในการวิจัยครั้งนี้คือ ใช้สารประกอบโบรอนอินทรีย์ที่สามารถจับฟลูออรีน เตรียมได้ในสภาวะที่ไม่รุนแรง และมีความคงตัวจากการเติมประจุบวก “ผลที่ได้เป็นสารตั้งต้นเภสัชรังสีที่สามารถเตรียมได้ที่อุณหภูมิห้อง ใช้ความเป็นกรดน้อยลงทำให้สามารถใช้เตรียมสารเภสัชรังสีที่เป็นโปรตีนและเปปไทด์ที่มีโมเลกุลใหญ่ในขั้นตอนเดียว ซึ่งจำเพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็งมากขึ้น สามารถใช้ติดตามโรคต่าง ๆ ได้แม่นยำมากกว่าโมเลกุลขนาดเล็ก ทำให้สามารถตรวจได้ในมะเร็งระยะเริ่มต้น โดยสารเภสัชรังสีที่เป็นอนุพันธ์ของนิวโรเทนซินเปปไทด์ที่เตรียมขึ้นในวิทยานิพนธ์นี้ ได้ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถบ่งชี้ตำแหน่งของเซลล์มะเร็งตับอ่อนในหนูทดลองได้อย่างแม่นยำ จึงสามารถนำไปศึกษาต่อยอดเพื่อใช้เป็นสารเภสัชรังสีสำหรับวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อนในมนุษย์ได้ในอนาคต”ดร.กันตพัฒน์ระบุ ปัจจุบันได้จดสิทธิบัตรองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารประกอบดังกล่าวเป็นตัวรับฟลูออรีน-18 แล้ว และต่อยอดงานวิจัยไปสู่การเตรียมสารประกอบโบรอนอินทรีย์ที่มีหมู่ BF2 และสามารถให้สัญญาณฟลูออร์เรซเซ็นต์ได้ รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ในการนำมาประยุกต์ใช้เป็นสารเภสัชรังสีที่สามารถให้ 2 สัญญาณการตรวจวัด คือ สัญญาณรังสี และสัญญาณฟลูออร์เรซเซ็นต์ โดยใช้เทคโนโลยีการนำส่งระดับนาโนสำหรับใช้ในการวินิจฉัยโรค รวมถึงเป็นสัญญาณนำทางให้แพทย์สามารถทำการผ่าตัดรักษาได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังอยู่ระหว่างการเตรียมทดสอบในหนูทดลอง โดยใช้เซลล์มะเร็งตับ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 1 - 2 ปี ในการทดสอบและวิเคราะห์ผล พร้อมชี้ว่า มีโอกาสที่จะพัฒนาไปให้ใช้งานได้จริง แต่ต้องใช้เวลา เนื่องจากเป็นงานวิจัยทางด้านการแพทย์ ต้องมีการทดสอบในสัตว์ทดลองที่ใหญ่ขึ้น และทดสอบทางคลินิกต่อไป แต่หากทำได้สำเร็จ เราจะมีสารเภสัชรังสีของไทยเพื่อใช้เองในประเทศ โดยไม่ต้องพึ่งพาและนำเข้าในที่สุด ทั้งนี้ งานวิจัยเรื่อง สารประกอบโบรอนอินทรีย์สำหรับการประยุกต์ใช้เป็นตัวรับฟลูออรีน-18 ของ ดร.กันตพัฒน์ จันทร์แสนภักดิ์ นาโนเทค สวทช. ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประจำปี 2562 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) Manager online 11.12.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร