Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ผลวิจัย “โรคอ้วน” ในเด็กตั้งคำถามความสัมพันธ์ของ “สมอง” กับ “น้ำหนักตัว”  

นักวิจัยพิจารณา คำถามมากมายเกี่ยวกับโรคอ้วน เช่น น้ำหนักที่เกินมาตรฐานจะทำให้สมองในส่วนควบคุมและยับยั้งตนเองเล็กลงหรือไม่ โรคอ้วนเป็นผลจากสมองที่แตกต่างกัน หรือแค่พฤติกรรมการบริโภค การใช้ชีวิต สภาพครอบครัว หรือจริงๆ แล้วเป็นผลจากพันธุกรรม การศึกษาล่าสุดในกลุ่มเยาวชนที่ประเทศสหรัฐฯ ชี้ให้เห็นว่า ยังคงมีความไม่แน่นอนในคำอธิบายโรคอ้วนด้วยขนาดของสมอง สำนักข่าว AP รายงานผลการศึกษาระยะยาวในกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากที่สุดในด้านพัฒนาการสมองและสุขภาพของเด็ก เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนและการทำงานของสมอง ล่าสุดผลลัพธ์ยังไม่ชี้ชัด โดยผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าต้องวิเคราะห์ผลการศึกษาอย่างระมัดระวัง ในบทบรรณาธิการที่ตีพิมพ์ในวารสารด้านสุขภาพของเด็กและเยาวชน JAMA Pediatrics ได้กล่าวถึงการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนัก โครงสร้างสมองและสุขภาพจิต โดยได้คัดเลือกเด็กชาวอเมริกันอายุ 9-10 ปีจำนวน 3,190 คน จำนวนนี้กำหนดให้มีเด็กที่น้ำหนักเกินมาตรฐานราว 1,000 คนเพื่อให้สอดคล้องกับสถิติตัวเลขประชากรน้ำหนักเกินในประเทศสหรัฐฯที่อยู่ในอัตรา 1 ใน 3 การศึกษานี้เก็บข้อมูลจากการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตรวจสมองด้วยวิธี MRI และให้ทำแบบทดสอบผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อวัดศักยภาพด้านความจำ ความสามารถทางภาษา ตรรกะความคิด และการควบคุมความต้องการของตนเอง แพทย์หญิง Eliana Perrin ศาสตราจารย์ด้านกุมารเวชศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Duke University ผู้ร่วมเขียนในบทบรรณาธิการดังกล่าว อธิบายว่า “เราไม่รู้ว่าความสัมพันธ์ของโรคอ้วนและสมองจะไปในทิศทางใด และเราก็ไม่ได้บอกว่าคนที่เป็นโรคอ้วนจะไม่ฉลาดเท่ากับคนที่มีน้ำหนักในระดับมาตรฐาน” ผลจากการสแกนสมองในเด็กกลุ่มที่มีน้ำหนักตัวมาก พบความแตกต่างเล็กน้อยในความหนาแน่นของสมองส่วนหน้า ซึ่งสมองบริเวณนี้จะทำหน้าที่ควบคุมทักษะด้านการจัดการ หรือ Executive Function ยกตัวอย่างเช่น การวางแผน รู้จักยับยั้งความต้องการของตนเอง และการทำหลายกิจกรรมในเวลาเดียวกัน ประกอบกับกลุ่มเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากนี้ ยังได้คะแนนที่ด้อยกว่าเล็กน้อยจากแบบทดสอบในส่วนคำถามด้านทักษะการจัดการ Scott Mackey นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัย University of Vermont เจ้าของการศึกษานี้ระบุว่า ผลที่ได้มามีความแตกต่างที่ไม่ชัดเจนนัก ระหว่างเด็กทั้งสองกลุ่ม ผลลัพธ์ดังกล่าวไม่สามารถใช้ชี้วัดความสามารถหรือพฤติกรรมทางด้านการเรียนรู้ เขาเชื่อว่าน้ำหนักเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการเคลื่อนไหวออกแรงและโภชนาการที่เหมาะสมมากกว่า แต่ปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ในงานวิจัยนี้ อย่างไรก็ดี การศึกษานี้ทำให้เกิดความสนใจว่า “การอักเสบ” ของเซลล์ที่อาจเกิดในวัยเด็ก ส่งผลต่อน้ำหนักตัว โครงสร้างและการสั่งการของสมอง เคยมีผลการศึกษา “โรคอ้วน” ในกลุ่มผู้ใหญ่ ชี้มีความเกี่ยวข้องก่อให้เกิดภาวะการอักเสบอ่อนๆของเซลล์ทั่วทั้งร่างกาย ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดเกิดความเสียหาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและมีสุขภาพจิตที่ถดถอย ในบางการศึกษานักวิจัยเชื่อว่าการอักเสบส่งผลให้ สมองของผู้ใหญ่ที่มีโรคอ้วนมีมวลความหนาแน่นที่น้อยลง ทางด้าน Natasha Schvey นักวิจัยโรคอ้วน จากมหาวิทยาลัย Uniformed Services University คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ ชี้ว่าพฤติกรรมการบริโภคและโรคอ้วนเป็นผลมาจากหลายปัจจัย เช่นระบบเผาผลาญและจิตวิทยาในหลายๆ ด้าน เธอกล่าวว่า “จากหลายๆ งานวิจัยเรื่องโรคอ้วน เราอาจบอกได้ว่ามันไม่ใช่แค่การควบคุมตัวเองของแต่ละบุคคล บ้างอาจจะบอกว่าเป็นเรื่องความพยายามและความตั้งใจ แต่มันก็เป็นแค่ส่วนเล็กๆ ของภาพรวมทั้งหมด” Schvey ยังบอกอีกว่า “ยังมีสิ่งที่กำหนดน้ำหนักของคนเรา และส่วนสำคัญคือเรื่องของพันธุกรรม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเช่นนี้ตลอดไป” Voice of America 16.12.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร