Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

“การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว” ทางลัดรักษาโลก แต่กฎระเบียบไม่เอื้ออำนวย  

ในฐานะผู้บริโภคเรามีส่วนช่วยลดการพลาญทรัพยากรได้จากการเลือกใช้ แต่การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคในระดับปัจเจก อาจทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่เด่นชัดเท่า “การจัดซื้อจัดจ้าง” ขององค์กร ซึ่งมีการใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาล หากรู้จัดเลือกสรรครุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือใช้อย่างคุ้มค่า ก็จะเป็นอีกแนวทางที่เราช่วยรักษาทรัพยากรของโลกได้ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นประเทศที่นำ “การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว” (Green Procurement หรือ Green Purchasing) มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและประหยัดทรัพยากร และมีความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการจัดซื้อสินค้าและจัดจ้างบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนี้ ผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จริณทร์ภร ติพพะมงคล นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า โครงการการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวเป็นการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าและบริการทั่วไป และใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบขั้นตอนของรัฐ ที่กำหนดโดยกระทรวงการคลังเช่นเดียวกับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าขององค์กรต่างๆ โดยทั่วไป ความแตกต่างของการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวกับการจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป คือ การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวจะพิจารณาถึงปัจจัยในด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การซื้อผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้แล้วนำกลับมารีเคิลได้อีก หรือสินค้าที่ผลิตด้วยวัสดุจากธรรมชาติ และการจ้างงานบริการที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทว่าสิ่งที่เป็นอุปสรรคของการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว คือ มีผู้ประกอบการน้อยรายที่สนใจผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “การผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น มีการใช้วัตถุดิบที่มีความจำเพาะเจาะจง จึงทำให้สินค้ามีราคาที่ค่อนข้างสูง หรือผลิตออกมาแล้ว แต่ไม่ได้รับความนิยมและไม่ได้รับการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้ประกอบการจึงยกเลิกการผลิต อีกทั้งการจ้างงานบริการที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ยังต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์มากกว่าการดำเนินงานทั่วๆ ไป จึงทำให้มีต้นทุนสูง และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวในประเทศไทย ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร” จริณทร์ภรอธิบาย เยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว จึงมีความร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐต่างๆ ในไทย ผลักดันการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในการดำเนินงานที่มุ่งเน้นลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ และสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อปรับตัวต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พร้อมกับผลักดันโครงการต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยให้สำเร็จ โดยได้เสนอให้กระทรวงการคลังออกระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและงานบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ปฏิบัติตามได้ง่าย “เนื่องจากในหนึ่งปี หน่วยงานต่างๆ จะได้รับเงินงบประมาณ โดยมีวงเงินที่ถูกกำหนดไว้ตามแผนการดำเนินงาน หากซื้อสิ้นค้าที่มีราคาสูง ก็จะไม่เหลือเงินงบประมาณสำหรับใช้ในงานด้านอื่นๆ อีกทั้งระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินสูง ก็มีการกำหนดให้มีผู้ประกอบการ 3 ราย เพื่อแข่งกันประกวดราคา ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีน้อยราย การจะหานั้นก็ทำได้ยาก” จริณทร์ภรกล่าวเสริม ตอนนี้หลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ได้เริ่มดำเนินโครงการการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวแล้ว แต่ปัจจุบันก็ไม่สามารถดำเนินงานได้ เนื่องจากติดกฎระเบียบต่างๆ การปรับระเบียบใหม่ที่เอื้อประโยชน์ และทำให้การดำเนินงานง่ายขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะทำให้โครงการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของประเทศไทยประสบความ และเป็นรูปธรรมสำเร็จมากยิ่งขึ้น Manager online 18.12.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร