Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

4 นวัตกรรมจัดการขยะพลาสติก รับเทรนด์“เศรษฐกิจสีเขียว”  

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เผย 4 นวัตกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกที่จำเป็นต้องนำมาใช้และจะทวีบทบาทในโลกอนาคต “นวัตกรรมอัพไซคลิ่ง - พลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติหรือไบโอพลาสติก - นวัตกรรมเพื่อการจัดการไมโครพลาสติก - การเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นพลังงาน” ล่าสุดร่วมกับ “Phoenixict Co., Ltd. - Sinwattana Crowdfunding“ จัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการออกแบบโครงการด้านการบริหารจัดการขยะพลาสติก เพื่อดึงดูดผู้ที่มีแนวคิดและไอเดียการออกแบบนวัตกรรมที่มุ่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้มีโอกาสนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้เพื่อรับสนับสนุนเงินทุน และนำโครงการไปต่อยอดเพื่อสังคมได้ในอนาคต นอกจากนี้ ยังเฟ้นหานวัตกรรมการจัดการขยะพลาสติก 5 ด้าน “นวัตกรรมการจัดเก็บขยะพลาสติก - นวัตกรรมการคัดแยกขยะพลาสติก - นวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติก - นวัตกรรมการกำจัดขยะพลาสติก - การสร้างความมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะพลาสติก” เพื่อเดินหน้าโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน City & Community Innovation Challenges ในปี 2563 นายคุณาวุฒิ บุญญานพคุณ ผู้อำนวยการ ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ปัญหาขยะพลาสติกเป็นปัญหาที่ทุกคนต้องให้ความใส่ใจ เป็นที่ทราบกันดีว่าขยะประเภทดังกล่าวเป็นสิ่งที่ย่อยสลายได้ยาก สร้างปัญหาให้แก่สังคมและสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน โดยในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าหลายฝ่ายหลายประเทศทั่วโลกมีความพยายามผลักดันการลดและเลิกใช้วัสดุที่ผลิตมาจากพลาสติก โดยเฉพาะสินค้าประเภทถุงบรรจุ ซึ่งมีการใช้ในปริมาณมากเนื่องจากมีความเกี่ยวพันกับวิถีการดำเนินชีวิต นอกจากนี้ ยังมีขยะพลาสติกประเภทอื่นๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี รวมทั้งมีนวัตกรรมที่สามารถทดแทนการใช้งานได้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น ขวดน้ำ แก้วน้ำ หรือกล่องบรรจุภัณฑ์ ทั้งยังจำเป็นต้องกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ ประชาชน รวมถึงนักพัฒนาเกิดความตื่นตัวและสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาการจัดการขยะพลาสติก ตลอดจนโซลูชั่นที่สามารถทำให้เรื่องดังกล่าวมีทางออกที่เป็นรูปธรรม สำหรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการบริหารจัดการขยะพลาสติกที่จำเป็นต้องนำมาใช้ และจะทวีบทบาทในโลกอนาคตอย่างมีนัยสำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่ • นวัตกรรมอัพไซคลิ่ง : Upcycling ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรีไซเคิล และเป็นวิธีการแก้ปัญหาพลาสติกเหลือทิ้งที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยเป็นการนำขยะมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ทำให้เป็นสิ่งใหม่ สามารถนำมาใช้ได้ในรูปแบบใหม่ๆ โดยไม่สร้างขยะกลับคืนสู่วงจรขยะพลาสติกอีกครั้ง เช่น การนำมาทำเป็นวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์สำนักงาน สินค้าไลฟ์สไตล์ เป็นต้น • พลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ หรือไบโอพลาสติก ซึ่งเป็นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์และแบคทีเรียตามธรรมชาติ โดยสามารถผลิตจากวัตถุดิบที่สามารถผลิตทดแทนขึ้นใหม่ได้ในธรรมชาติ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ฯลฯ มีคุณสมบัติในการใช้งานใกล้เคียงพลาสติกจากปิโตรเคมีแบบดั้งเดิม และพลาสติกชีวภาพแบบย่อยสลายได้จะกลับคืนสู่ธรรมชาติได้ 100% ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการใช้งานเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง • นวัตกรรมเพื่อการจัดการไมโครพลาสติก เนื่องจากไมโครพลาสติกถือเป็นพลาสติกขนาดเล็กและมองไม่เห็น ซึ่งมักจะปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ทะเล และทำให้สัตว์ต่างๆ เสียชีวิต ตามที่ปรากฏในข่าวสาร เรื่องดังกล่าวจำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยผู้ประกอบการและต้นทางในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องควรให้ความใส่ใจอย่างจริงจัง ด้วยการหาวัสดุทดแทนหรือมีกระบวนการจัดการที่รัดกุม เพื่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่ดีขึ้นทั้งระบบ • การเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นพลังงาน เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่น่าสนใจ โดยสามารถนำขยะพลาสติกที่มีอยู่จำนวนมหาศาลมาแปรรูปเป็นพลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า ฯลฯ การพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบนี้ยังจะช่วยลดต้นทุนในกิจกรรมดังกล่าว พร้อมสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย ล่าสุด NIA โดยฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม ร่วมกับ Phoenixict Co., Ltd. - Sinwattana Crowdfunding จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบโครงการด้านการบริหารจัดการขยะพลาสติก” เพื่อดึงดูดผู้ที่มีแนวคิดและไอเดียการออกแบบนวัตกรรมที่มุ่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้มีโอกาสนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้เพื่อรับสนับสนุนเงินทุน และนำโครงการไปต่อยอดเพื่อสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต นอกจากนี้ ที่ผ่านมา NIA ยังมีโครงการที่มุ่งพัฒนานวัตกรรมการจัดการขยะพลาสติกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน (City & Community Innovation Challenges ) ซึ่งเป็นการเปิดรับข้อเสนอโครงการนวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเมืองหรือชุมชน โดยเฉพาะในหัวข้อ “เมืองแห่งนวัตกรรมสีเขียว” และการเปิดรับข้อเสนอ “โครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” ผลจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มีนวัตกรรมด้านการจัดการขยะพลาสติกที่เห็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เช่น นวัตกรรมการบริหารจัดการขยะชุมชนเป็นผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างจากเศษขยะพลาสติกชุมชนมาใช้ในการผลิตวัสดุก่อสร้างที่มีมวลรวมน้ำหนักเบา , นวัตกรรมเครื่องอัดขยะในครัวเรือน แอปพลิเคชัน Recycle Day เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลในการคัดแยกขยะ และสามารถเชื่อมโยงกลุ่มผู้รับซื้อของเก่ากับกลุ่มผู้ที่ต้องการขายของเหลือใช้ที่จะช่วยให้สะดวกสบายมากขึ้น และนวัตกรรมเครื่องผลิตเชื้อเพลิงสำหรับเผาศพจากขยะพลาสติกชุมชน นอกจากนี้ ในปี 2563 เอ็นไอเอยังเตรียมเดินหน้าโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมมุ่งเฟ้นหา ”นวัตกรรมการจัดการขยะพลาสติก” (Plastic Waste Management Innovation) 5 ด้าน ได้แก่ นวัตกรรมการจัดเก็บขยะพลาสติก นวัตกรรมการคัดแยกขยะพลาสติก นวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติก นวัตกรรมการกำจัดขยะพลาสติก และการสร้างความมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะพลาสติก โดยจะเปิดรับข้อเสนอแนวคิดขั้นต้น ตั้งแต่วันที่ 3-28 กุมภาพันธ์ 2563 NIA มุ่งหน้าเป็นหน่วยงานส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการจัดการขยะพลาสติกอย่างจริงจัง และพร้อมที่จะสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม สตาร์ทอัพ หน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปในการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวเพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นทั้งในประเทศไทยและสังคมโลก ผู้ที่มีแนวคิดหรือไอเดียด้านการพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการขยะพลาสติก สามารถสอบถามข้อมูลการสนับสนุนโครงการเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02-0175555 เว็บไซต์ www.nia.or.th หรือ facebook.com/niathailand Manager online 31.12.19

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร