Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

วิจัยปรับปรุงพันธุ์กล้วยไข่กำแพงเพชรให้ทนพายุ  

วว.วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่ของดีจังหวัดกำแพงเพชร “พันธุ์เตี้ย ลำต้นแข็งแรง ปลูกชิดได้มากขึ้น ให้ผลผลิตเร็ว” หลังเกษตรกรปลูกน้อยลงเพราะเผชิญพายุพัดเสียหายบ่อย จังหวัดกำแพงเพชรถูกขนานนามว่าเป็นเมืองกล้วยไข่ เนื่องจากมีกล้วยไข่เป็นผลไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัด เป็นกล้วยไข่ที่อร่อยขึ้นชื่อที่สุดจนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกลดลงอย่างมาก ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ แต่ก็ยังมีผู้ที่อนุรักษ์สืบสานปลูกกล้วยไข่ต่อไปอีก โดยเฉพาะกล้วยไข่พันธุ์แท้ของ จ.กำแพงเพชร โดยกระจายไปตามอำเภอต่างๆ เดิมจังหวัดกำแพงเพชรมีเกษตรกรปลูกกล้วยไข่มากถึง 40,000 ไร่ มีรายได้เข้าจังหวัดประมาณ 200 ล้านบาท แต่ปัจจุบันลดลงมาเหลือน้อยกว่า 4,000 ไร่ โดยกระจายอยู่ในเขต อ.เมือง อ.คลองขลุง อ.โกสัมพี และ อ.คลองลาน แต่ยังสามารถทำเงินให้เกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท ส่วนสาเหตุที่พื้นที่เพาะปลูกน้อยลงจากพายุฤดูร้อนหรือพายุฟ้าคะนอง ซึ่งจะเกิดขึ้นในฤดูร้อน ช่วงเดือนเมษายนหรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน ขณะที่อุณหภูมิในภาคต่างๆเริ่มสูงขึ้น เนื่องจากแกนของโลกเริ่มเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ และดวงอาทิตย์จะเคลื่อนมาอยู่ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวและชื้นในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตอนบนของภาคกลาง อากาศที่อยู่ใกล้ผิวพื้นจะมีอุณหภูมิสูง ประกอบกับลมที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยเป็นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ในระยะนี้ถ้ามีลมเหนือ (อากาศเย็น) พัดลงมาจากประเทศจีนจะทำให้อากาศสองกระแสกระทบกัน ทำให้การหมุนเวียนของอากาศแปรปรวนขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน เป็นเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างแรงและรวดเร็ว มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่ารวมอยู่ด้วย นอกจากนี้มักจะมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักเกิดขึ้น บางครั้งยังมีลูกเห็บตกลงมาด้วย พายุฟ้าคะนองนี้เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นและพายุดังกล่าวเป็นพายุที่พัดมาไม่มีทิศทางยากจะป้องกัน โดยจะมีพายุสองช่วงคือช่วงเดือนต้นฤดูฝนช่วงมีนาคมและช่วงปลายฤดูฝนในเดือนตุลาคม จึงทำให้ลมพัดต้นกล้วยไข่หักเสียหาย ประกอบกับกล้วยไข่ให้ผลผลิตปีละครั้ง ถ้าเสียหายก็ขาดทุนหมด เกษตรกรจึงหันไปปลูกพืชอื่นทดแทนพื้นที่ปลูกกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรจึงลดลงอย่างมาก กล้วยไข่กำแพงเพชร เป็นพันธุ์กล้วยที่มีคุณภาพดี รสหวาน เนื้อแน่น ผิวบาง เนื้อผลสีเหลือง เป็นพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร เกษตรกรพยายามอนุรักษ์และสืบสานให้อยู่ต่อและคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เปลือกบางผิวตกกระ เนื้อแน่นเหนียว รสชาติหวาน ผลไม่เล็กไม่ใหญ่ ต้นกล้วยไข่พันธุ์พื้นเมืองกำแพงเพชร ต้นจะเล็ก สูงประมาณ 2 เมตรถึง 3 เมตร ผลไม่ใหญ่ไม่เล็ก ผิวกล้วยไข่กำแพงเพชรเมื่อสุกแล้วสีเหลืองสดใส แก่จัดผิวจะตกกระเป็นจุดสีน้ำตาลดำ รสชาติหวานวัดความหวานได้ประมาณ 24 องศาบริกซ์ ไม่มีรสเปรี้ยว เนื้อแน่นเหนียวตลอดทั้งลูก เปลือกบางจึงไม่เหมาะกับการส่งออก แต่เหมาะสำหรับบริโภคสด ผิดกับพันธุ์อื่นๆ ซึ่งลูกใหญ่ที่ปลูกในจังหวัดอื่นๆ เพื่อส่งออก แต่รสชาติต่างกันมาก กล้วยกำแพงเพชรจึงเหมาะสมกับการอนุรักษ์และสืบสานต่อกล้วยไข่ให้อยู่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรต่อไป สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้รับงบประมาณในการดำเนินการ โครงการการพัฒนาเกษตรกรด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (InnoAgri) เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรภาคเหนือ (กล้วยไข่) และได้รับทราบถึงปัญหาการเสียหายจากลมพายุและมุ่งหวังที่จะทำการเพิ่มคุณภาพและผลผลิตกล้วยไข่กำแพงเพชร ดร.กุศล เอี่ยมทรัพย์ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. ได้ทดลองเพื่อลดความสูงของกล้วยไข่ ด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ราดผสมน้ำราดที่โคนกล้วยไข่อายุ 4 เดือน อัตราห้ากรัมต่อต้น ซึ่งสารดังกล่าวสามารถลดความสูงของกล้วยไข่ลงได้ประมาณหนึ่งเมตร ลักษณะลำต้นแข็งแรงและเมื่อมีลมพายุพัดเข้ามา พบว่าสามารถต้านทานการหักล้มได้ดีกว่ากล้วยไข่ที่ปกติและให้ผลเร็วกว่ากล้วยไข่ปกติประมาณสิบวัน เทคโนโลยีการลดความสูงของกล้วยไข่เพื่อลดความเสียหายจากลมพายุ เป็นเทคโนโลยีที่มีต้นทุน 1 บาทต่อต้น แต่ลดความเสียหายได้ดี นอกจากนี้กล้วยลักษณะดังกล่าวยังสามารถทำการปลูกชิดได้มากขึ้นทำให้เกษตรมีรายได้มากขึ้นจากกล้วยที่ไม่เสียหายและจำนวนต้นต่อพื้นที่มากขึ้น นอกจากการลดความสูงของกล้วยไข่แล้ว วว. ยังได้วิจัยเพื่อเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผลกล้วยไข่ โดยใช้สารกลุ่มจิบเบอเรลลิน ฉีดพ่นโดยตรงที่ผลอ่อนจำนวนสองครั้ง ห่างกันหนึ่งสัปดาห์ ที่ความเข้มข้นห้าสิบส่วนในล้านส่วน ซึ่งมีต้นทุนประมาณสี่บาทต่อเครือ จากการทดลองพบว่าสามารถเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผลกล้วยไข่ได้เพิ่มขึ้น 50-70 เปอร์เซ็นต์ และจากขนาดและน้ำหนักผลที่เพิ่มขึ้นทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้นจากทั้งน้ำหนักและราคาของเกรดผลกล้วยต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้นด้วย ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับ “เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่กำแพงเพชร” ผลงานวิจัยและพัฒนาของ วว. ได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ดร.กุศล เอี่ยมทรัพย์) โทร. 0 2577 9000 www.tistr.or.th Line @tistr Manager online 02.01.20

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร