Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

เทคโนโลยีใหม่ช่วยตรวจหามะเร็งตับอ่อน  

มะเร็งตับอ่อนเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่เป็นอันตรายมากที่สุด แต่เป็นโรคที่ตรวจพบได้ยากและมักจะตรวจพบเมื่ออยู่ในระยะลุกลามจนเกินกว่าที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่บรรดานักวิจัยกำลังทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ที่อาจช่วยป้องกันการพัฒนาโรคมะเร็งตับอ่อนนี้ได้ ตับอ่อนเป็นอวัยวะสำคัญที่ผลิตสารอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดของร่างกาย ตับอ่อนนั้นมองเห็นได้ยาก เพราะเป็นอวัยวะที่อยู่ทางด้านหลังของช่องท้องและถูกบดบังด้วยช่องท้องและตับ ซึ่งนั่นคือเหตุผลที่แพทย์ตรวจหาก้อนเนื้อได้ยากในระหว่างที่ตรวจร่างกายตามปกติ นายแพทย์ Somashekar Krishna ผู้เชี่ยวชาญเรื่องต่อมไร้ท่อ กล่าวคือเป็นผู้ที่ศึกษาในเรื่องของฮอร์โมน และอวัยวะต่างๆ ที่ผลิตฮอร์โมนกล่าวว่าเรื่องดังกล่าวคือเหตุผลที่บ่งชี้ว่าเหตุใดจึงมีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนเพียง 9% เท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกห้าปีหลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ และว่าโรคมะเร็งชนิดนี้จะไม่แสดงอาการใดๆ เลยในระยะเริ่มต้น Patricia Beatty ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพราะคิดว่าตนติดเชื้อไวรัสในกระเพาะอาหาร แต่ในระหว่างที่สแกนกระเพาะอาหารของเธอ แพทย์กลับพบว่ามีถุงน้ำหรือ Cyst อยู่ ซึ่งแพทย์แจ้งกับเธอว่าถุงน้ำนั้นคือภาวะก่อนการเป็นมะเร็ง ทั้งนี้ มะเร็งตับอ่อนสามารถพัฒนาได้สองวิธี คือการที่เริ่มจากการเป็นเนื้องอก หรือ Tumor ที่มีเชื้อมะเร็ง หรือเริ่มเมื่อถุงน้ำหรือ Cyst กลายเป็นมะเร็ง ความแตกต่างระหว่างเนื้องอกและถุงน้ำคือ เนื้องอกจะเป็นก้อนแข็ง ในขณะที่ถุงน้ำจะเต็มไปด้วยของเหลว ซีสต์ในตับอ่อนนั้นเป็นเรื่องที่พบเห็นทั่วไป และส่วนใหญ่จะไม่เป็นมะเร็ง แพทย์สามารถตรวจสอบของเหลวจากภายในถุงน้ำเหล่านั้นได้ แต่ก็ยากที่จะบอกได้ว่าซีสต์ก้อนไหนที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็ง เนื้องอกหรือซีสต์ที่เป็นมะเร็งนั้นสามารถชี้ชัดได้ด้วยการใช้เครื่องมือถ่ายภาพชนิดพิเศษ แต่การถ่ายภาพแบบนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงจนไม่สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ทดสอบแบบปกติได้ นายแพทย์ Krishna เป็นหัวหน้าการในการศึกษาวิจัยอุปกรณ์ชนิดใหม่ที่ให้แพทย์สามารถดูก้อนซีสต์ได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ที่ศูนย์การแพทย์ Wexner แห่งมหาวิทยาลัยโอไฮโอ เขากล่าวว่าการศึกษาของเขาแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ใหม่นี้มีความแม่นยำในการวินิจฉัยก้อนซีสต์สูงถึง 96% ถึง 97% วิธีดังกล่าวใช้กล้องจุลทรรศน์ขนาดเล็กที่มีแสงเลเซอร์ในการผลิตภาพด้านในของถุงน้ำ ซึ่งนายแพทย์ Krishna และนักวิจัยท่านอื่นๆ กำลังให้การฝึกอบรมแพทย์ทั่วสหรัฐฯ ในการใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อที่จะสามารถชี้ระบุก้อนซีสต์ที่เป็นมะเร็งได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามแพทย์จะใช้วิธีการใหม่นี้ หลังจากผู้ป่วยได้รับใบสั่งจากแพทย์ให้เข้ารับการตรวจสอบด้วยการถ่ายภาพแบบอื่นๆ เท่านั้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเชื้อมะเร็งจะยังคงเติบโตอยู่ภายในร่างกายของผู้ป่วยอย่างเงียบๆ จนสายเกินกว่าที่จะช่วยคนเหล่านั้นได้ นายแพทย์ Somashekar Krishna กล่าวกับผู้สื่อข่าว VOA ว่าการตรวจเลือดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการค้นหามะเร็งตับอ่อนในระยะเริ่มต้น ซึ่งนักวิจัยกำลังพยายามคิดค้นพัฒนาวิธีการทดสอบด้วยการตรวจเลือดกันอยู่ voa 6 ม.ค.63

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร