Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ไบโอเทคช่วยพัฒนา “สเปรย์แก้ไอ” สะดวกใช้ตีตลาดคนรุ่นใหม่ 14 ประเทศ  

ห้าตะขาบ เปิดตัว “สเปรย์แก้ไอ” ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุอาการคออักเสบได้มากกว่า 99.9 เปอร์เซ็นต์ ภายในเวลา 5 นาที ตีตลาดคนรุ่นใหม่และตลาดนอก กว่า 14 ประเทศ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับ บริษัท ห้าตะขาบ ซิมเทียมฮ้อ จำกัด ผู้ผลิตยาอมลูกกลอนแก้ไอ ‘ตราตะขาบห้าตัว’ พัฒนาผลิตภัณฑ์โฉมใหม่ ‘ยาแก้ไอแบบสเปร์ยพ่น’ เพื่อขยายฐานคนรุ่นใหม่และชาวต่างชาติ บุกตลาดกว่า 14 ประเทศ พร้อมเปิดตัวแล้วในไตรมาสแรกปี 2563 ดร.กอบกุล เหล่าเท้ง ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยส่วนผสมฟังก์ชั่นและนวัตกรรมอาหาร ไบโอเทค สวทช. เผยว่า ไบโอเทคร่วมกับ บริษัท ห้าตะขาบ ซิมเทียมฮ้อ จำกัด ผู้ผลิตยาอมลูกกลอนแก้ไอตราตะขาบห้าตัว ซึ่งยืนหยัดความนิยมอันดับต้นๆ ในไทยมากว่า 80 ปี ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยพัฒนากระบวนการผลิตต้นน้ำและกลางน้ำให้สามารถผลิตสินค้าได้ทันความต้องการของลูกค้าที่มีเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ผลงานดังกล่าวสร้างมูลค่าผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ สูงถึงกว่า 700 ล้านบาท และนำมาสู่ความร่วมมือต่อเนื่องในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ยาแก้ไอรูปแบบใหม่ เพื่อขยายฐานกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น “สิ่งที่คณะผู้วิจัยพัฒนาคือวิธีการเตรียมวัตถุดิบยาสำหรับกระบวนการผลิตยาแก้ไอในรูปแบบสเปร์ยพ่น โดยอาศัยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวกระบวนการอุตสาหกรรม (Industrial bioprocess technology) และเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ยับยั้งจุลชีพ พัฒนายารูปแบบใหม่โดยคงสูตรตัวยาสมุนไพรดังเดิม จากการทดสอบพบว่ามีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์เทียบเคียงยาอมสูตรลูกกลอนที่ผลิตและจำหน่ายในปัจจุบัน สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุอาการคออักเสบ (Pharyngitis) ได้มากกว่า 99.9 เปอร์เซ็นต์ ภายในเวลา 5 นาที “จุดเด่นของผลิตภัณฑ์นี้ ไม่เพียงปรับรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ยา แต่บริษัทและคณะวิจัยยังคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก โดยกระบวนการผลิตทั้งหมดเน้นใช้กรรมวิธีและวัตถุดิบจากธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี และไม่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ เพราะหากผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะไม่ครบตามปริมาณที่กำหนดอาจเกิดการดื้อยาได้ ซึ่งจะส่งผลให้การรักษาในอนาคตจำเป็นต้องใช้ยาที่แรงขึ้น กระบวนการผลิตมีการนำศาสตร์ต่าง ๆ เข้าไปเสริมความสามารถให้ทำงานได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น สามารถควบคุมคุณภาพตลอดสายการผลิตให้ไม่ก่อเกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นกระบวนการผลิตหลักส่วนใหญ่ยังใช้เทคโนโลยีของคนไทย ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ” ปัจจุบันบริษัทขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาแก้ไอแบบสเปร์ยพ่นกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เป็นที่เรียบร้อย มีการนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจลงทุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มสายการผลิต มีแผนจัดจำหน่ายในไตรมาสแรกปี 2563 โดยวางแผนที่จะมีการทำตลาดเพื่อขยายฐานกลุ่มเป้าหมายไปสู่คนรุ่นใหม่และชาวต่างชาติที่ไม่นิยมการบริโภคยาในรูปแบบลูกกลอน ซึ่งบริษัทมีฐานตลาดจากผลิตภัณฑ์เดิมอยู่ก่อนหน้าแล้วกว่า 14 ประเทศ ดร.กอบกุล กล่าวว่า สิ่งที่ไบโอเทคช่วยหนุนเสริมเสมอมา คือ การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปช่วยเสริมความแกร่ง ช่วยยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตามโจทย์ความต้องการของบริษัท เริ่มจากจุดที่มีความสำคัญเร่งด่วน แล้วจึงแนะนำสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาต่อ ไบโอเทคทำหน้าที่เป็นเพื่อนร่วมทางช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการสามารถขยายธุรกิจจากการเป็น SMEs ไปสู่บริษัทที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน เพื่อให้เกิดการจ้างงานและกระจายรายได้สู่คนในประเทศ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตามหลัก BCG (Bio – Circular – Green) Economy Model ที่มุ่งเน้นการนำศาสตร์และความรู้และเทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยคำนึงถึงการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นวัตกรรม ‘ยาแก้ไอตราตะขาบในรูปแบบสเปร์ยพ่น’ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงอีกก้าวสำคัญของผู้ประกอบการไทย ที่หันมาใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมพลิกโฉมผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดเพื่อขยายฐานกลุ่มเป้าหมาย ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่ตลาดสากล Manager online 14.01.20

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร