Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

รักษ์โลกก้าวต่อไม่รอแล้ว ! จาก 3 Rs สู่ 5 Rs เพื่อ Zero Waste  

ปี 2020 ยังคงเป็นธีมของ Going Zero Waste เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาแสดงว่าการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไม่ได้เป็นเรื่องง่ายดายและทำได้ทันที แม้ว่าทุกคนจะตระหนักดีว่าเรื่องของ Zero Waste มีความสำคัญในลำดับสูงและกระทบต่อภาวะโลกร้อนด้วยก็ตาม ที่ผ่านมาคำว่า Zero Waste ไม่ได้หมายความว่า Zero ทั้งหมดจริงๆ หากแต่หมายถึงความพยายามถึงที่สุดที่จะทำให้ปริมาณขยะที่ทิ้งในผืนดินลดลงเหลือน้อยที่สุด ผ่านการบริหารจัดการขยะในแนวทางใหม่ๆ ที่เหมาะสม แตกต่างกันออกไป และสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินชีวิตของแต่ละคน ด้วยเหตุนี้ปี 2020 จึงมีการขยายความของ Zero Waste จาก 3 Rs ที่ครอบคลุม Reduce, Reuse, Recycle เป็น 5 Rs ประกอบด้วย Refuse, Reduce, Reuse, Rot, Recycle การดำเนินการ R ที่ 1 Refuse หรือการปฏิเสธ ไม่รับ ไม่เอาพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ถูกกำหนดให้เป็นขั้นตอนแรกของ Zero Waste ได้แก่ ถ้วยกระดาษ เครื่องใช้ในครัว วัสดุจากพลาสติก และรายการที่ไม่จำเป็นอื่น ๆ ปรับเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่ใช้ซ้ำได้แทน และจัดหาอุปกรณ์ส่วนตัวเพื่อใช้ทดแทนร้านค้าปลีกและร้านอาหารเครื่องดื่มทั้งหลาย นอกจากนั้น Refuse ยังหมายถึง การปฏิเสธสิ่งของทั้งหลาย วัสดุใดๆ ที่จะทำลายสภาพแวดล้อม หรือไม่สามารถพิสูจน์ว่าเป็น ECO-label หรือ Green Products การดำเนินการ R ที่ 2 Reduce การลดลงของพฤติกรรมการจัดซื้อรายการที่ไม่จำเป็น อยู่อย่างพอเพียง ทำให้การดำเนินชีวิตเป็น Zero Waste ได้ทางหนึ่ง เป็นการสร้างจิตสำนึกในตนเองในการปรับพฤติกรรมการซื้อการจ่ายเงินประจำวันใหม่ เป็นการเรียนรู้ที่จะแยกแยะรายจ่ายจำเป็น รายจ่ายฟุ่มเฟือยให้ชัดเจน รวมทั้งลดการรับหีบห่อที่ไม่สามารถนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ หรือเท่ากับการลดขยะของโลก รวมทั้งเลิกพฤติกรรมเลียนแบบการบริโภคหรือโหนกระแส หากรู้ว่าจะทำลายสภาพแวดล้อมและสถานะทางการเงินในอนาคตของตนเอง การดำเนินการ R ที่ 3 Reuse การใช้ซ้ำ เป็นหนทางในการเก็บรักษาสิ่งของโดยไม่ทิ้งลงพื้นดินเป็นขยะทุกอย่าง ด้วยการนำมาซ่อมแซมเพื่อใช้ใหม่ เมื่อแตกหักหรือสึกหรอ โดยไม่พยายามซ่อมบำรุงหรือดัดแปลงใช้ใหม่ก่อน ด้วยวิธีการ DIY เช่น เสื้อผ้าเก่า อาจจะเปลี่ยนเป็นกระเป๋าผ้าหรือเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข หรือเศษอาหารเก่าสามารถปรับเป็นข้าวผัดหรือน้ำซุป บรรจุภัณฑ์พลาสติกอาจจะนำไปใช้เพื่อการอื่น การดำเนินการ R ที่ 4 Rot หมายถึงเศษอาหาร เศษซากสัตว์ที่ทิ้งแล้วหลังจากการแยกออกจากส่วนที่นำไปใช้ ที่สามารถนำไปส่งต่อที่ศูนย์กลางที่รับเศษอาหารไปใช้ เช่น ตลาดสดเกษตรกร หรือสวนสาธารณชุมชนที่อยู่ใกล้บ้าน เพราะสามารถใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกต้นไม้ได้ เป็นต้น และปัจจุบันซากเศษอาหารนี้นำไปแปลงสภาพเป็นพลาสติกแบบไบโอได้ด้วย ซึ่ง Rot นี้รวมถึงการนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นหรือ Repurpose นั่นเอง การดำเนินการ R ที่ 5 Recycle ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถจะใช้ R ตัวอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็น Refuse, Reduce, Reuse หรือ Rot แล้ว ทางเดียวคือแยกออกเพื่อเอาส่วนที่รีไซเคิลได้ไปใช้ประโยชน์ ปัจจุบันมีการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและทันสมัย และแนวคิดเชิงนวัตกรรมระบบรีไซเคิลมากมาย ทั้งกรณีพลาสติก กระดาษ แก้ว โลหะ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเชื่อมโยงให้ 5 Rs สามารถเกิดได้จริง คือ ระบบการบริหารจัดการขยะในรูปแบบใหม่ ซึ่งรูปแบบเดิมที่ใช้อยู่ชนิดเก็บรวมและเทรวมกันใช้ไม่ได้อีกต่อไป ในการทำให้ขยะไม่เททิ้งบนพื้นดินหรือแหล่งน้ำ การบริหารจัดการขยะที่ดีจะช่วยให้ 5 Rs สามารถทำได้จริง คือ การแยกขยะไม่ถูกต้อง ไม่ได้รับการจัดเก็บและนำไปตามระบบการจัดการขยะใหม่ การสร้างบทปรับที่ทำให้ทุกคนใส่ใจเพราะกระทบรายจ่ายของตนเอง ซึ่งการบริหาร 5 Rs นี้จะทำให้ประเทศมีโอกาสเกิดระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน หรือ Circular Economy ที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและแนวความยั่งยืนโดยรวม นอกจาก 5 Rs แล้ว ปี 2020 ยังมีการพูดถึง 7 Rs ด้วยในวัน The Earth Day 1.Refuse ปฏิเสธในการเกี่ยวข้อง การซื้อใช้ตั้งแต่แรก 2.Reduce ใช้น้อยลงเท่าที่จำเป็น จะทำให้เราทิ้งขวางลดลง โดยเฉพาะอาหารเกินในตู้เย็น 3.Reuse ใช้ซ้ำอีกครั้งก่อนจะนำไปทิ้งเป็นขยะ เช่น ขวดน้ำพลาสติก เสื้อผ้า แทนไปซื้อใหม่ทุกครั้ง 4.Recycle ส่งไปยังโรงงานผลิตเพื่อทำการแปลงให้เป็นของใหม่ให้สามารถใช้ซ้ำได้ 5.Repurpose เป็นการทำตามกรอบ Reuse แต่ในแนวทางใหม่ตามเทคนิค DIY เป็นสิ่งของใหม่ที่นำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น หรืออาจจะเรียกว่า Upcycle ก็ได้ ถ้ามูลค่าแตกต่างจากเดิมมาก โดยไม่ได้ทำการยุบหรือทำลายก่อนเหมือนกรณี Recycle 6.Rot การนำกากเศษอาหารมาใช้ประโยชน์อื่น แทนที่จะทิ้งไป 7.Repair การทำการแก้ไข ซ่อมแซมกลับมาใช้แทนที่จะทิ้งไป แล้วไปซื้อของใหม่ทุกครั้ง เช่น ซ่อมจักรยาน พัดลม Manager online 16.01.20

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร