Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

สภาวิศวกร แนะ 8 ทางออกประเทศไทย รับมือวิกฤตฝุ่น  

สภาวิศวกร เสนอ 8 ทางออกรับมือฝุ่น PM 2.5 ลดมลพิษที่เกิดขึ้นในระยะยาว ชี้หากลดค่าฝุ่นเหลือ 25 มคก./ลบ.ม. จะลดอัตราตายก่อนวัยอันควรของคนไทย 18,000 คน และหากลดเหลือ 12 มคก./ลบ.ม. จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 15,000 คน ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร แถลงข่าว “แนวทางการรับมือฝุ่น PM2.5 มหันตภัยร้ายปกคลุมน่านฟ้า กทม.” ว่า สถานการณ์ฝุ่นละอองพิษขนาดเล็ก PM 2.5 กลายเป็นเรื่องวิกฤติมลพิษทางอากาศของกรุงเทพมหานคร (กทม.) นับตั้งแต่เมื่อปี 2562 กระทั่งในปัจจุบันนี้ และจากการรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) การได้รับฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายจะเป็นอันตรายต่อปอดและมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ สภาวิศวกร ในฐานะเสาหลักของชาติด้านวิศวกรรม อีกทั้งเป็นองค์กรที่ทุ่มเททางด้านวิศวกรรมเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้น ได้วางแนวทางการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ด้วยกัน 8 มิติ เพื่อลดมลพิษที่เกิดขึ้นในระยะยาวและสร้างสุขภาพที่ยั่งยืนให้กับคนไทย 1.ติดตั้งระบบการแจ้งเตือนมลพิษในเมือง สถานการณ์ ฝุ่นละอองพิษขนาดเล็ก PM 2.5 ในกรุงเทพ แต่ละพื้นที่มีความหนาแน่นของฝุ่นที่แตกต่างกัน ในบางพื้นที่จะมีปริมาณความหนาแน่นของฝุ่นทะลุตั้งแต่ 20 – 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สาเหตุหลักไม่ได้เกิดจากสภาพอากาศปิด แต่เกิดจากมลพิษอากาศที่ปล่อยควันเสียของเครื่องยนต์ดีเซล การก่อสร้าง และจากโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้น จึงควรติดตั้งระบบการแจ้งเตือนมลพิษในกรุงเทพ เพื่อแจ้งเตือนประชาชนที่ต้องเดินทางหรือต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นละอองพิษขนาดเล็ก PM 2.5 เกินเกณฑ์มาตราฐาน ซึ่งขณะนี้ มีการนำร่องติดตั้งสถานีตรวจวัดฝุ่น ณ สถานีพระจอมเกล้าลาดกระบัง และในอนาคตเตรียมขยายจุดติดตั้งเพิ่มขึ้น โดยสามารถต่อยอดผ่านการทำแผนที่ตรวจสอบบริเวณที่มีฝุ่นหนาแน่น เพื่อแจ้งเตือนประชาชนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ เช่น ระบบการแจ้งเตือนมลพิษในประเทศเกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา 2.ผลักดันแนวคิดในการพัฒนาภาษีฝุ่น หากประเทศไทยต้องการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในระยะยาว แนวทางหนึ่งคือ การจัดทำมาตรการทางภาษีบังคับใช้กับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โดยหากองค์กรใดมีการบริหารจัดการการก่อสร้างที่มีมาตรฐาน ลดปริมาณการเกิดฝุ่น จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ขณะที่ผู้ประกอบการที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องเผชิญกับการเสียภาษีฝุ่น นอกจากนี้ ประเทศไทยควรมีการจัดเก็บภาษีสำหรับยานพาหนะที่ปล่อยควันดำสร้างปัญหามลพิษทางอากาศ โดยหากยานพาหนะมีสภาพเก่าจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น เพื่อนำภาษีเหล่านี้มาดูแลทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพของคนไทย 3.พัฒนาแอปฯ แจ้งเตือนปริมาณฝุ่น (Smart Mobility) เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคดิทิจัล โดยเฉลี่ยแล้วประชากรไทยจะมีโทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องใช้เทคโนโลยีมาบริหารจัดการ เมื่อเข้าบริเวณฝุ่น PM 2.5 การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อแจ้งเตือนประชาชน เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาและแบบเรียลไทม์ ตลอดจนเป็นแนวทางป้องกันให้ประชาชนสามารถเตรียมสวมหน้ากาก เมื่อจำเป็นต้องเข้าไปยังพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นหนาแน่น และลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของคนไทย 4.กำหนดพื้นที่เสี่ยง (Risk Area) การเกิดฝุ่น PM2.5 ของประเทศไทยยังจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะยาวอย่างแน่นอน หากทุกภาคส่วนไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการกำหนดพื้นที่เสี่ยง ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณป้ายรถเมล์ นับเป็นบริเวณที่มีปริมาณฝุ่นหนาแน่น แต่กลับไม่มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชน ซึ่งในปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพฯ มีป้ายรถเมล์จำนวนถึง 5,000 ป้าย และมีป้ายรถเมล์ที่เสี่ยงต่ออันตรายสุขภาพถึง 1,000 ป้าย ดังนั้น ภาครัฐจึงควรลงทุนติดตั้งพัดลมบริเวณดังกล่าว เพื่อลดปริมาณฝุ่นสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ 5.ชี้ฉีดน้ำจากที่สูงแก้ไม่ตรงจุด จากมาตรการการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ของกทม. ด้วยการฉีดน้ำล้างถนนและการติดสปิงเกอร์บนตึกสูงเพื่อพ่นละอองน้ำ ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดและไม่เกิดประสิทธิภาพ เนื่องจากเมื่อละอองที่จับตัวกับฝุ่น PM 2.5 แห้งตัว ฝุ่นก็จะกลับมาฟุ้งกระจายเหมือนเดิม ดังนั้น ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรวิเคราะห์ถึงต้นเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยที่ผ่านมา ต้นเหตุของการก่อฝุ่นโดยส่วนใหญ่ จะพบในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง ถนนที่มีการจราจรหนาแน่น ป้ายรถเมล์ ใต้สถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น 6.พัฒนาระบบ Big Data ประเทศไทยต้องพัฒนาระบบ Big Data เพื่อจัดเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ รวมทั้งบริหารความเสี่ยงของพื้นที่ที่เป็นอันตราย เพื่อคาดการณ์และแจ้งเตือนความหนาแน่นของปริมาณฝุ่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อเอื้อต่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ การแจ้งปิดโรงเรียนเฉพาะแห่งที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น เพราะจากเหตุการณ์เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา ภาครัฐได้ดำเนินการสั่งให้โรงเรียนทั้งหมดในพื้นกรุงเทพฯ ปิดทำการเรียนการสอน ซึ่งแท้จริงแล้วในโรงเรียนในบางพื้นที่ไม่ได้ประสบปัญหาดังกล่าว 7.เตือนภัยกลุ่มเสี่ยง (ฝุ่น PM 2.5) ภัยเงียบทำลายทรัพยากรมนุษย์ จากภาวะฝุ่น PM 2.5 ในปัจจุบันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น จึงควรมีมาตรการในการแจ้งเตือนภัยสำหรับกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นอันตรายจากฝุ่น PM 2.5โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอด โรคทางสมอง และโรคมะเร็ง ซึ่งนับเป็นการทำลายทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต 8.ชงนโยบายแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน สภาวิศวกร ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้ผสานความร่วมมือในการลงพื้นที่ตรวจสอบและวัดปริมาณฝุ่น รวมทั้งจัดอบรมให้ความรู้ประชาชนให้มีองค์ความรู้เรื่องฝุ่นและการดูแลตัวเองในเบื้องต้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการจัดประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกับนักวิชาการ จากหน่วยงานภาครัฐ และภาคการศึกษา เพื่อวิเคราะห์และเสนอทางออกการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทั้งในระยะสั้น กลาง และระยะยาว ต่อรัฐบาล เพื่อนำไปพิจารณาและออกเป็นข้อบังคับใช้ในอนาคต ทั้งนี้ สภาวิศวกร พร้อมเป็นหน่วยงานในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม แก่หน่วยงานรัฐ เอกชน ภาคการศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจ ด้าน ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร เลขานุการสภาวิศกร กล่าวเสริมว่า ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เกิดขึ้นมานานแล้วและไม่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก เช่น ประเทศจีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งฝุ่นดังกล่าวเป็นอันตรายสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โดยเกณฑ์มาตรความปลอดภัยของประเทศไทย ปริมาณฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งคุณภาพอากาศอยู่ในระดับปานกลาง แต่หากต้องการให้คุณภาพดีหรือดีมากนั้น จะต้องปรับค่าปริมาณฝุ่นให้เหลือ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนไทย 18,000 คน และกรณีที่สามารถลดปริมาณฝุ่นได้ถึงระดับ 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 15,000 คน พร้อมแนะภาครัฐปรับมาตรการระยะกลาง ผ่านการปรับมาตรฐานค่าฝุ่น PM 2.5 ให้ดีขึ้น โดยเฉลี่ยที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก เพื่อยกระดับคุณภาพอากาศให้ดีขึ้นและปลอดภัย รวมทั้งจัดทำมาตรการควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ โดยเริ่มต้นที่รถบรรทุก รถโดยสารสาธารณะเครื่องยนต์ดีเซล ที่มีอายุการใช้งาน 5 ปีขึ้นไป เพื่อปรับปรุงเครื่องยนต์ดีเซลให้ปล่อยมลพิษไม่เกินค่ามาตรฐาน และลดการปล่อยควันดำ เนื่องจากรถเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักกว่าร้อยละ 70 ของการปล่อยฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นมาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการ Manager online 16.01.20

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร