Library Subject Cloud
Air Pollution. Biochemistry. Chemistry, Analytic Quantitative. Chemistry, Analytic. Chemistry, Inorganic. Chemistry, Organic. Chemistry, Physical and theoretical. Chemistry. Children's literature. Chromatographic analysis. Food Analysis. Food Microbiology. Food Preservation. Food additives. Food industry and trade. Food. Nutrition. Physics. Plastics. Polymers and polymerization. Polymers. Rubber. Water Analysis. Water Purification. การบริหารงานบุคคล. ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470- พระราชกรณียกิจ. วรรณกรรมสำหรับเด็ก. วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี. วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน. โสตทัศนวัสดุ.

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
QR for Android App
Test Library System
QR for Android App
DSS Science eBook
Standard Collection
OECD Agriculture and Food
คู่มือการใช้งาน e-book ของ iGPublishing Platform
รายการ e-book ที่ให้บริการบน iGPublishing Platform
สำนักพิมพ์ Elsevier
e-book ของสำนักพิมพ์ iSmithers สาขาที่ควบคุมทางด้าน ยาง,กระจก,โพลีเมอร์
Britannica Academic Edition
Britannica Merriam Webster
แนะนำ ฐานข้อมูล
เว็บไซต์ด้านมาตรฐาน
เว็บไซต์เกี่ยวกับสิทธิบัตร
ฐานข้อมูล Electronic Journals อ่าน Fulltext ได้สำหรับบริการบุคลากรภายในกรมฯ
ฐานข้อมูล e-content (วารสารต่างประเทศ)
รายชื่อวารสารอภินันทนาการ
เว็บที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร/ระเบียบ Reach
ฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาเกษตรกรรมขั้นพื้นฐาน
บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์
ฐานข้อมูลประมวลสารสนเทศเฉพาะเรื่อง
ประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของโลก
ฐานข้อมูลวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเซรามิก,แก้ว ...
ข้อมูลเอกสารรายงานการวิจัย
ฐานข้อมูลส่งเสริมเผยแพร่สารสนเทศสู่ชุมชน

สถิติจาก truehit.net


ตรวจสอบและติดตามข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ
แผนการฝึกอบรมปี 2562
แผนการอบรมหลักสูตรถ่าย
ทอดเทคโนโลยี ปี 2561
ประกาศอัตราค่าบริการใหม่และ
การชำระค่าบริการ
รายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมด
แนะนำเอกสารใหม่ 
  ลิงค์เว็บเพจแนะนำ
    เอกสารใหม่
  ดาวน์โหลดบัญชีรายชื่อ
    เอกสารใหม่
  คู่มือการใช้งาน
เว็บไดเร็คทอรี่ (web directory)
ข่าวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เว็บศูนย์ประสานงานสารนิเทศ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระดานถาม-ตอบ
เว็บไซต์ด้านวัสดุสัมผัสอาหาร
เว็บไซต์ด้านแก้ว
เว็บไซต์ด้านเซรามิก
เว็บไซต์คลังความรู้ OTOP
ห้องปฏิบัติการยางและผลิตภัณฑ์ยาง
 
สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
UTCC Central Library


นำโค้ดไปติดที่เว็บของท่านแล้ว
กรุณาแจ้งเราทาง E-mail ที่
Webmaster
 
 
 
 
 

ส่องจากอวกาศหาแหล่งน้ำช่วย "ภัยแล้ง"  

เหตุต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาที่มีปริมาณฝนตกน้อย จนเขื่อนใหญ่ๆ หลายแห่งกักเก็บน้ำไม่ได้ตามเป้า แต่นอกจากแหล่งน้ำขนาดใหญ่แล้ว ยังมี "แหล่งน้ำขนาดเล็ก" ที่จะช่วยเยียวยาการขาดแคลนน้ำได้ นายอนุสรณ์ รังสิพานิช รักษาการนักภูมิสารสนเทศเชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า ให้สัมภาษณ์ว่า ภัยแล้งมักถูกโยงถึงแหล่งน้ำขนาดใหญ่ แต่ความจริงนั้นแหล่งน้ำขนาดใหญ่อย่างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าและแหล่งเก็บน้ำขนาดกลางอย่างอ่างเก็บน้ำนั้นมีการบริหารจัดการที่ชัดเจนแล้ว แต่แหล่งน้ำขนาดเล็กที่มีพื้นที่ประมาณ 2-3 ไร่ ที่ถูกดูแลโดยองค์การบริการส่วนท้องถิ่นหรือชาวบ้านในพื้นที่กลับไม่มีใครลงไปตรวจวัดปริมาณน้ำในแหล่งดังกล่าวเลย "เราเลยใช้ภาพดาวเทียมสำรวจว่าตรงไหนเป็นแหล่งน้ำได้บ้าง พบว่าทั่วประเทศมีแหล่งน้ำขนาดเล็ก 1.4 แสนแห่ง จากการสุ่มวัดขนาดและความลึกแหล่งเก็บน้ำเหล่านี้พบว่า สามารถเก็บน้ำได้เต็มที่ 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบเท่าเขื่อนขนาดใหญ่ แต่โมเดลที่เราใช้ยังไม่แม่นยำนัก จากการคำนวณพบว่ามีน้ำคงเหลือในแหล่งน้ำขนาดเล็กนี้ประมาณ 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งประเทศไทยมีฝนตกทุกปีอยู่แล้ว ถ้าเราใช้ประโยชน์ให้ถูก บริหารจัดการให้ดี จะช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งได้ แต่ตอนนี้การประเมินของโมเดลยังไม่แม่นยำมาก ถ้าทำได้แม่นยำกว่านี้จะช่วยให้ชุมชนบริหารจัดการน้ำเองได้" นายอนุสรณ์กล่าว สำหรับแหล่งน้ำขนาดเล็กนั้น นายอนุสรณ์ ระบุว่าเกือบ 100% ยังไม่มีการบริหารจัดการ บางส่วนอาจจะมีการจัดการบ้างแล้ว โดยสิ่งที่อยากรู้เพิ่มเติมคือปริมาตรน้ำที่ใกล้เคียงความจริง ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนบริหารจัดการน้ำเองได้ โดยวางแผนติดตั้งเครื่องวัดระดับน้ำอัตโนมัติตามแหล่งน้ำขนาดเล็กจำนวน 5% ของจำนวนแหล่งน้ำขนาดเล็กทั้งหมด และกระจายให้ทั่วทุกภาค ภาคละประมาณ 2-3 แห่ง ส่วนปัญหาภัยแล้งนั้น นายอนุสรณ์กล่าวว่าปัจจุบันมีความต้องการน้ำสูงขึ้น จากเมื่อก่อนการปลูกข้าวนาปีจะพึ่งน้ำฝน 80% ของน้ำที่ใช้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันการปลูกข้าวนาปีไม่รอฝน แต่อาศัยน้ำจากชลประทาน ทั้งที่ตามสมควรแล้วควรปลูกข้าวนาปีด้วยน้ำฝน และปลูกข้าวนาปลังด้วยน้ำจากแหล่งน้ำ และบอกด้วยว่าภาคเกษตรนั้นใช้น้ำมาก ซึ่งบางแห่งที่ปลูกข้าวนั่นควรหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนจะดีกว่า นายอนุสรณ์กล่าวว่าปัญหาแล้งนั้นมี 3 รูปแบบ ได้แก่ แล้งอุปโภคบริโภคหรือแล้งน้ำกินน้ำใช้ แล้งอุตุนิยมวิทยาหรือการที่ฝนไม่ตกต่อเนื่อง และแล้งการเกษตรคือไม่มีน้ำสำหรับปลูกข้าว ซึ่งแล้งอย่างหลังนั้นเป็นปัญหาหนักที่แถบริมแม่น้ำโขง และภาคอีสานอีกหลายส่วน หากมีการบริหารจัดการตามแผนจะมีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค แต่ปัจจุบันพบว่าภาครัฐปล่อยน้ำเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและช่วยไล่น้ำเค็ม แต่กลับถูกดึงไปใช้ในภาคเกษตร ทำให้ส่งน้ำไปไล่น้ำเค็มไม่เพียงพอ "สำหรับภาคกลางน้ำในเขื่อนภูมิพลของปีนี้มีปริมาณเท่ากับเมื่อปี '58 แต่ปริมาณการปลูกข้าวปีนี้กลับเยอะกว่าปี '58" นายอนุสรณ์กล่าว แล้วบอกอีกว่าปัญหาน้ำปีนี้เกิดจากปีที่แล้วไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ แต่จากแบบจำลองคาดการณ์ว่ากลางปีนี้น่าจะดีขึ้น เพราะไม่อยู่ในภาวะเอลนีโญหรือลานีญา ถ้ารักษาวิกฤตได้ปีหน้าน่าจะดีขึ้น แต่หากปี '63 นี้ฝนยังไม่ตก จะเกิดวิกฤตแล้งจริงๆ ในปี '64 ซึ่งตอนนั้นจะเริ่มมีปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค แต่ปีนี้ยังไม่มีปัญหาดังกล่าว Manager online 16.01.20

อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม







   




   
   
   

 

 

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์ : 0 2201 7252-6  โทรสาร : 0 2201 7251,65  e-mail : info@dss.go.th

Wednesday March 18, 2020 7:31 PM 8:49 PM
หน่วยงานนี้ทำข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น มิใช่เพื่อการแสวงหาผลกำไร