รายละเอียด
 
ชนิดวัสดุ Recycle : [ Others ]
ชื่อเรื่อง (Eng) :
Conversion of tomato-peel waste into solid fuel by hydrothermal carbonization : influence of the processing variables
ชื่อเรื่อง (ไทย) :
เชื้อเพลิงแข็งจากเปลือกมะเขือเทศโดยใช้กระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอนไนเซชัน : การศึกษาผลของตัวแปรในกระบวนการ
ผู้แต่ง :
E. Sabio, A. Álvarez-Murillo, S. Román, B. Ledesma
แหล่งข้อมูล :
Waste Management 47, Part A 2016 : 122-132 ISSN: 0956-053X doi : 10.1016/j.wasman.2015.04.016
บทคัดย่อ (Eng) :
บทคัดย่อ (ไทย) :
การแปลงเปลือกมะเขือเทศให้เป็นถ่านไฮโดร (Hydrochar) ด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอนไนเซชัน (Hydrothermal Carbonization ; HTC) โดยใช้แนวทางการออกแบบการทดลอง-วิธีผลตอบสนองค่อพื้นผิว (Design of Experiment - Response Surface Methodology ; DoE-RSM) ในการศึกษาตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ อุณหภูมิ ระยะเวลา และอัตราส่วนชีวมวลต่อน้ำ รวมถึงผลที่มีต่อกันระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ต่อเปอร์เซ็นต์ถ่านไฮโดรที่ได้และคุณลักษณะด้านความหนาแน่นเชิงพลังงาน (energy densification) หรือการเพิ่มค่าความร้อนสูง (higher heat value ; HHV) ของถ่านไฮโดร รวมทั้งศึกษากระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอนไนเซชัน (HTC pathway) ที่ใช้เปลี่ยนชีวมมวล (เปลือกมะเขือเทศ) ให้เป็นเชื้อเพลิงแข็งจำพวกถ่านไฮโดร เปลือกมะเขือเทศเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปมะเขือเทศ โดยในงานวิจัยนี้ใช้เปลือกมะเขือเทศจากโรงงานผลิตน้ำมะเขือเทศ ส่วน HTC เป็นเทคนิคแบบง่ายและต้นทุนต่ำที่ใช้ความร้อนชื้นภายใต้สภาวะที่กำหนดในการทำปฏิกิริยาวัสดุชีวมวลประเภทลิกโนเซลลูโลสจนได้ถ่านไฮโดร ผลจากงานวิจัยนี้พบว่า ระยะเวลาทำปฏิกิริยาและอุณหภูมิเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ได้ถ่านโดรมากขึ้นและช่วยเพิ่มค่าความหนาแน่นเชิงพลังงานของถ่านไฮโดร ขณะที่อัตราส่วนชีวมวลต่อน้ำเป็นตัวแปรที่สำคัญรองลงมาแต่เป็นพารามิเตอร์ชี้ขาดในสภาวะที่ตัวแปรระยะเวลาทำปฏิกิริยาและอุณหภูมิมีผลระหว่างกัน ปริมาณถ่านไฮโดรที่ได้จากการวิจัยนี้อยู่ระหว่าง 27.6% - 87.7% มีค่าความร้อนสูงอยู่ระหว่าง 23.6-34.6 เมกะจูลต่อกิโลกรัม (MJ kg-1) การใช้วิธีทางสถิติประมวลผลข้อมูลจากการทดลอง พบว่า รูปแบบปฏิกิริยาในกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอนไนเซชันเป็นปฏิกิริยาอันดับสองเทียม (pseudo-second order model) ซึ่งแนวทางนี้สามารถใช้คาดการณ์ลักษณะถ่านไฮโดรได้ สำหรับการวิเคราะห์ธาตุและการวิเคราะห์ด้วย FTIR ของถ่านไฮโดรเพื่อสำรวจการเกิดปฏิกิริยาในกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอนไนเซชัน พบว่ามีปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลายปฏิกิริยาทั้งดีไฮเดรชัน (dehydration) ดีคาร์บอกซีเลชัน (decarboxylation) และโดยเฉพาะการแตกพอลิเมอร์ของลิกนิน (lignin depolymerization) ซึ่งทำให้เกิดอนุมูลมอนอเมอร์ (monomer radicals) สำหรับลักษณะพื้นผิวของถ่านไฮโดรนั้น ใช้การวิเคราะห์ด้วยเครื่องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด (Scanning electron microscope ; SEM)


ถ่านไฮโดร ไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอนไนเซชัน เปลือกมะเขือเทศ วัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมอาหาร ชีวมวล มวลชีวภาพ ลิกโนเซลลูโลส
hydrocarbon, Hydrothermal Carbonization (HTC) tomato peel, food industry waste, biomass, lignocelluloses, solid fuel


ประเภทเอกสาร :
Journal
หมายเหตุ :


ย้อนกลับ       

 






Download Acrobat Reader

This site is copyright @ 2015 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400

ปรับปรุง : Sunday May 13, 2018 9:31 AM
สถิติจาก truehits.net

กลับหน้าเว็บสำนักหอสมุดฯ