รายละเอียด
 
ชนิดวัสดุ Recycle : [ Ceramic ]
ชื่อเรื่อง (ไทย) :
การรีไซเคิลวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการขัดกระเบื้องพอร์ซเลนให้เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ : ประสิทธิภาพความชุ่มชื้น
ชื่อเรื่อง (Eng) :
Recycling of Porcelain Tile Polishing Residue in Portland Cement : Hydration Efficiency
ผู้แต่ง :
Fernando Pelisser, Luiz Renato Steiner, and Adriano Michael Bernardin
แหล่งข้อมูล :
Environmental Science & Technology Vol.46 (4) 2012 P.2368-2374
บทคัดย่อ (ไทย) :
กระเบื้องเซรามิกได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง กระบวนการผลิตกระเบื้องเซรามิก ในขั้นตอนการขัดได้ก่อให้เกิดโคลนเหลืออยู่ปริมาณมาก ซึ่งโคลนเหล่านี้มีความบริสุทธิ์น้อยเกินไป ไม่สามารถนำกลับมาใช้ในกระบวนการผลิตเซรามิกใหม่ได้ จึงมักจะถูกทิ้งให้เป็นเพียงขยะ แต่จากการวิเคราะห์ขนาดอนุภาคและความเข้มข้นของซิลิกาในโคลนนี้พบว่ามีศักยภาพในการนำไปผลิตวัสดุก่อสร้างจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ขั้นตอนการทดสอบทำโดยการเติมโคลนลงในน้ำซีเมนต์และปูนซีเมนต์ ปริมาณ 10% และ 20% (โดยมวล) หลังจากนั้น 56 วัน จึงวัดผลของความทนต่อแรงอัด พบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีการเพิ่มขึ้นของความทนต่อแรงอัดมากกว่า 50% ส่วนผลการทดสอบการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของสารโดยอาศัยคุณสมบัติทางความร้อน พบว่าปอร์ตแลนไดต์ถูกใช้ในการเกิดรูปซีเมนต์โดยซิลิกาที่มีอยู่ในโคลน เพื่อสร้างแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต และมีส่วนทำให้เกิดปฏิกิริยาปอซโซลานิก จากผลการทดสอบนี้แสดงให้เห็นว่าโคลนดังกล่าวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของซีเมนต์ นำไปสู่การวิจัยและการใช้วัสดุช่วยเสริมโครงสร้างซีเมนต์ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากกระบวนการผลิต
บทคัดย่อ (Eng) :
Ceramic tiles are widely used by the construction industry, and the manufacturing process of ceramic tiles generates as a major residue mud derived from the polishing step. This residue is too impure to be reused in the ceramic process and is usually discarded as waste in landfills. But the analysis of the particle size and concentration of silica of this residue shows a potential use in the manufacture of building materials based on portland cement. Tests were conducted on cement pastes and mortars using the addition of 10% and 20% (mass) of the residue. The results of compressive strength in mortars made up to 56 days showed a significant increase in compressive strength greater than 50%. The result of thermogravimetry shows that portlandite is consumed by the cement formed by the silica present in the residue in order to form calcium silicate hydrate and featuring a pozzolanic reaction. This effect improves the performance of cement, contributes to research and application of supplementary cementitious materials, and optimizes the use of Portland cement, reducing the environmental impacts of carbon dioxide emissions from its production.
ประเภทเอกสาร :
Journal
หมายเหตุ :
ภาพประกอบ :


ย้อนกลับ       

 






Download Acrobat Reader

This site is copyright @ 2015 กรมวิทยาศาสตร์บริการ
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400

ปรับปรุง : Sunday May 13, 2018 9:31 AM
สถิติจาก truehits.net

กลับหน้าเว็บสำนักหอสมุดฯ