ในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนานั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1,472,900 บาท
ในเดือนพฤษภาคม 2534

ให้มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์
เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาต่อเนื่องจาก
โครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์เดิม ที่มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาเสร็จแล้ว และได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสรัชมังคลาภิเษก
2กรกฎาคม2531ทรรงเห็นว่าโครงการนี้ควรได้รวบรวมเอา
ชุดอรรถกถาและฎีกาเข้าไว้ด้วยกัน

นับเป็นโครงการที่นำวิทยาการชั้นสูงมาประยุกต์ใช้กับข้อมูลเนื้อหา
ทางด้านพุทธศาสนา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์นี้ด้วย
พระองค์เอง และมีพระบรมราชวินิจฉัย และพระราชวิจารณ์
ในการออกแบบโปรแกรมสำหรับใช้ในการสืบค้นข้อมูล
     
ในฐานะแห่งองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก การครั้งนี้กล่าวได้ว่า เป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนยาวนานสืบไปในอนาคตกาล เพราะโครงการพระราชดำรินี้ เป็นส่วนสนับสนุนอย่างสำคัญ ที่ทำให้การศึกษาพระไตรปิฎกและชุดอรรถกถาเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
ถูกต้อง แม่นยำ อีกทั้งรวบรวมเนื้อหาไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นับเป็นการใช้วิทยาการอันก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

  พระไตรปิฏกฉบับคอมพิวเตอร์      
     
         
ทรงงานคอมพิวเตอร์ด้วยพระองค์เอง          สำหรับโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาตามพระราชดำรินี้
ได้พัฒนาแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2534
ในชื่อ BUDSIR IV โดยพัฒนาต่อเนื่องจาก โปรแกรม BUDSIR
(อ่านออกเสียงว่า บุดเซอร์) มาจากคำว่า Buddhist Scriptures Information Retrieval สำหรับประวัติของ BUDSIR นั้น BUDSIR I สามารถค้นหา
คำทุกคำ ศัพท์ทุกศัพท์ ทุกวลี ทุกพุทธวจนะ ที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก จำนวน 45 เล่ม หรือข้อมูลมากกว่า24.3ล้านตัวอักษรที่ได้รับการบันทึกในคอมพิวเตอร์ได้อย่าง
รวดเร็ว ถูกต้อง และครบถ้วนสมบูรณ์ BUDSIR II
พัฒนาแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2532 ซึ่งเป็นพระไตรปิฎกอักษรโรมัน สำหรับการเผยแผ่ไปยังต่างประเทศ BUDSIR III ได้รับการพัฒนาขึ้นอีกในเดือนเมษายน 2533 เพื่องานสืบค้นที่มีความซับซ้อน สำหรับ BUDSIR IV นี้ ได้รวบรวมพระไตรปิฎกและอรรถกถา/ฎีกา รวมทั้งคัมภีร์ทุกเล่มที่ใช้ศึกษาหลักสูตรเปรียญธรรม
นอกจากนี้ยังรวม version ที่เป็นอักษรโรมัน
 

         เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งมีขนาดข้อมูลรวม 115 เล่ม หรือประมาณ 450 ล้านตัวอักษร นับเป็นพระไตรปิฎกและอรรถกถา ฉบับคอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน
และมหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้พัฒนาโครงการดังกล่าวเพิ่มเติม โดยบันทึกพระไตรปิฎกและอรรถกถา ลงบนแผ่น CD-ROM แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2537 ซึ่งจะอำนวยความสะดวกอย่างมากต่อผู้ที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก ไม่ว่าจะเป็นชาวไทย หรือชาวต่างประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 18 มกราคม 2538 และในปัจจุบันสำนักคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มโครงการพัฒนาโปรแกรมพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์ ฉบับภาษาไทย เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้ศึกษา อันจะเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้งานโปรแกรมนี้ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น

พระราชประวัติตราสัญลักษณ์โครงการ DLF e-Learning ในหลวงกับการสื่อสารในหลวงกับคอมพิวเตอรพระราชดำรัส
พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร
ในหลวงกับการถ่ายภาพกังหันน้ำชัยพัฒนาโครงการฝนหลวงวันเทคโนโลยีไทยพระราชทานพรปีใหม
กลับหน้าแรก