พระราชประวัตตราสัญลักษณ์พระไตรปิฏกฉบับคอมพิวเตอร์  โครงการ DLF e-Learning ในหลวงกับการสื่อสารในหลวงกับคอมพิวเตอร
พระราชดำรัสพระราชกรณียกิจด้านการสื่อสารในหลวงกับการถ่ายภาพกังหันน้ำชัยพัฒนาพระราชทานพรปีใหม
กลับหน้าแรก


   
  โครงการฝนหลวง      

       ครงการฝนหลวง
       "...กิจการฝนเทียมก็เป็นผลที่ดี เพื่อให้กิจการฝนเทียมได้ผลดียิ่ง จะต้องอาศัยหลายอย่างนอกจากเงินสำหรับค่าใช้จ่ายนั้นก็ต้องมีความร่วมมือกันระหว่าง
ทุกฝ่าย ทางด้านวิชาการก็ต้องค้นคว้าอยู่เสมอว่าลักษณะใดจะทำฝนเทียมได้เป็นผลสำเร็จ และต้องพยายามหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ..."

     พระราชดำรัส
     พระราชทานแก่คณะชาวสวนจันทบุรี
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๕

แนวพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการฝนหลวง
       จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ เป็นประจำได้ทรงพบเห็นปัญหาทุกข์ยากของพสกนิกรอันเนื่องจากสภาวะ
แห้งแล้งดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อนทุกข์ยากมากเนื่องจากบางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนานหรือภาวะฝนทิ้ง
ช่วงเกิดในระยะวิกฤตของพืชผล คือ พืชอยู่ในระยะที่ผสมพันธุ์และกำลังให้ผลผลิต ซ ึ่งเป็นช่วงสำคัญที่พืชต้องการน้ำมาก หากขาดน้ำในระยะดังกล่าวนี้
จะให้ผลผลิตต่ำหรืออาจไม่มีผลผลิตให้เลย ดังนั้นภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงในแต่ละครั้ง/แต่ละปี จึงสร้างความเดือดร้อนและความสูญเสียทางเศรษฐกิจและ
สังคมเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำมันนับวันจะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากรการขยาย พื่นที่
ี่เกษตรกรรมและการเจริญเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรม

       ดังนั้น เป็นเวลาเกือบ 10 ปีก่อนที่จะเริ่มโครงการพระราชดำริฝนเทียม หรือฝนหลวง ในปี พ.ศ.2512ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทุ่มเท
เวลาคิดค้นและวิจัยเพื่อที่จะนำเทคโนโลยีการทำฝนในประเทศไทยซึ่งอยู่ ในภูมิภาคเขตร้อนมาใช้เป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาสภาวะ
แห้งแล้งนอกเหนื จากการบำรุงรักษาต้นน้ำลำธาร การปลูกป่า และการสร้างระบบชลประทานเพื่อให้ครบวัฏจักรของน้ำ


       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริในการจัดตั้งโครงการค้นคว้าทดลองการทำฝนเทียม และการทดลองกับเมฆในท้องฟ้าเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2512โดยการโปรยน้ำแข็งแห้ง (คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง) จากเครื่องบินเข้าสู่ยอดของเมฆคิวมูลัส
ซึ่งเป็นเมฆชนิดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปฏิบัติการให้เกิดฝน โดยขึ้นบินปฏิบัติการทดลองครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม พ.ศ.2512ณ บริเวณ
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมฆที่ทดลองเป็นเมฆคิวมูลัส ฐานสูงประมาณ 3,900 ฟุต ยอดสูงประมาณ 5,600 ฟุต ปรากฎว่าหลังการปฏิบัติการประมาณ 15 นาที
ก้นเมฆรวมตัวกันหนาแน่น ก่อยอดสูงและมีขนาดใหญ่ขึ้น สีของฐานเมฆได้เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาเข้ม พร้อมที่จะตกเป็นฝน แต่ไม่สามารถสังเกตเห็นฝนตก
ได้เพราะยอดเขาบังต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแนะนำให้เปลี่ยนสถานที่ทดลองจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ไปใช้บริเวณศูนย์โครงการพัฒนาชนบทไทย-อิสราเอล อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีและศูนย์โครงการพัฒนาหมู่บ้านเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
์ เป็นสถานที่เป้าหมายทดลอง

     เพราะบริเวณพื้นที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวได้ประสบความแห้งแล้งติดต่อกันมาหลายปี การติดตามสังเกตการทดลองทำได้ดีกว่าเพราะสามารถขอความร่วมมือ
จากตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีด้านตะวันตก บริเวณเหนือลมของพื้นที่เป้าหมายทดลองและรายงานผลได้อย่าง
รวดเร็ว โดยผ่านข่ายสื่อสารของกรมตำรวจ และหากมีฝนตกมากเกินความต้องการก็สามารถระบายลงสู่ทะเลได้ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดอุทกภัยทำความเสียหาย
แก่ราษฎรด้วย


      ดังนั้น สถานที่สำหรับดำเนินการทดลองปฏิบัติการในระยะต่อมาจึงเป็นบริเวณพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น และผลการทดลองต่อๆ มา ก็สามารถทำให้เกิดฝนตก
หนักในพื้นที่เป้าหมายได้

      ในปี พ.ศ. 2498 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินโดยพระราชพาหนะเครื่องบินพระที่นั่ง เพื่อทรงเยี่ยมเยียนทุกข์
์สุขของพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือย่านบริเวณเทือกเขาภูพาน  ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้งได้ทวีความถี่และมีแนวโน้มจะรุนแรงยิ่งขึ้นเป็นลำดับนั้น
น่าจะมีสาเหตุเกิดขึ้นจากการผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาล ตามธรรมชาติ อีกทั้งการตัดไม้ทำลายป่าอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สภาพแวดล้อม
มีการเปลี่ยนแปลงไป 


     โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้สภาพอากาศจากพื้นดินถึงระดับฐานเมฆไม่เอื้ออำนวยต่อการกลั่นตัวของไอน้ำที่จะก่อตัวเกิดเป็นเมฆและทำให้ยากต่อการ
เหนี่ยวนำให้เกิดฝนตกลงสู่พื้นดิน จึงมีฝนตกน้อยกว่าปกติหรือไม่มีฝนตกเลยทรงสังเกตว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมเหนือพื้นที่ระหว่างเส้นทางบิน
แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวจนเกิดเป็นฝนตกได้ เป็นเหตุให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลายาวนานทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นฤดูฝน 
      เกิดสภาพความแห้งแล้งทั่วพื้นที่ ทั้ง ๆ ท้องฟ้ามีเมฆมาก  คือ "จุดประกายข้อสังเกต"  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในขณะที่พระองค์ท่าน
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมประชาชนและทอดพระเนตรเห็นแต่ความแห้งแล้งเกิดขึ้นทั่วไป  ทั้ง ๆ ที่ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมอยู่นอกจากนี้ได้ทรงพบเห็น
ท้องถิ่นหลายแห่งประสบปัญหาพื้นดินแห้งแล้ง  หรือการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค  และทำการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก  เกษตรกร
มักจะประสบความเดือดร้อนทุกข์ยากมาก
 
      เนื่องจากบางครั้งเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในระยะวิกฤติของพืชผล กล่าวคือ หากขาดน้ำในระยะดังกล่าวนี้จะทำให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจไม่มีผลผลิตให้เลยรวมทั้ง
อาจทำให้ผลผลิตที่มีอยู่เสียหายได้ การเช่นนี้เมื่อเกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงในคราใดของแต่ละปี  จึงสร้างความเดือดร้อนอย่างสาหัสและก่อให้เกิดความ
สูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรอย่างใหญ่หลวง  นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำของประเทศนับวันจะทวีปริมาณความต้องการสูงขึ้นอย่างมหาศาล
เพราะการขยายตัวเจริญเติบโต ทางด้านอุตสาหกรรม  เกษตรกรรม และการเพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำต้นทุนจากทรัพยากรน้ำมีอยู่ไม่เพียงพอ
ตัวอย่างนี้เห็นได้ชัดคือ ..ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลลดลงอย่างน่าตกใจ

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานสัมภาษณ์เกี่ยวกับฝนหลวงแก่ ข้าราชการสำนักงาน กปร.  ณ
พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ".......เรื่องฝนเทียมนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2498 แต่ยังไม่ได้ทำอะไรมากมาย  เพราะว่าไปภาคอีสานตอนนั้นหน้าแล้งเดือนพฤศจิกายน 
ที่ไปมีเมฆมาก  อีสานก็แล้ง   ก็เลยมีความคิด 2 อย่าง ต้องทำ check dam.... ตอนนั้นเกิดความคิดจากนครพนม ผ่านสกลนครข้ามไปกาฬสินธุ์  ลงไปสหัสขันธ์ที่เดี๋ยวนี้เป็นอำเภอ สมเด็จ....ไปจอดที่นั่นไปเยี่ยมราษฎรมันแล้ง  มีฝุ่น..."   "...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ทำไมจะดึงเมฆนี้
ให้ลงมาได้ ก็เคยได้ยินเรื่องทำฝนก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์  ฝนทำได้มีหนังสือ  เคยอ่านหนังสือทำได้ ..."

      โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร
ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาล
ตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝนจากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยม
พสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติจนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความ
ถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุ
ุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจ
โดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี 
      ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถ
ก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้
เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่าด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน
และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชียโดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัด
แปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน

      ตามที่ทรงเล่าไว้ใน RAINMAKING STORY จาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา
และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัยจึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่
ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา และทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้

   

เสร็จปล่อยฝนหลวง

       การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าวและพร้อมที่จะให้การสนับสนุน
ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุลจึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล
พระกรุณาทรงทราบว่าพร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกัน
นั้นเองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก
เมื่อวันที่1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให ้
ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุลเป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรกและเลือกพื่นที่บริเวณอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุตที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่นและก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้เนื่องจากยอดเขาบังแต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่าเกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

   
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงวิเคราะห์กรรมวิธีที่จะทำการผลิตฝนหลวง
ว่ามีขั้นตอนที่สามารถเข้าใจกันได้ง่าย  3  ขั้นตอน  คือ
   
ขั้นก่อกวน

      ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน
โดยการใช้สารเคมีไปกระตุ้นมวลอากาศทางด้านเหนือลมของพื้นที่
ี่เป้าหมาย ให้เกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบนรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเมฆฝน
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทาง
แนวตั้ง    
    การทำฝนหลวงในขั้นตอนนี้จึงมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้นอากาศให้เกิดการลอยตัว
ขึ้น สู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำหรือความชื้นเข้าส
ู่ระดับการเกิดเมฆ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานของขั้นตอนแรกนี้
ควรดำเนินการในช่วงเช้าของแต่ละวัน สารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนนี้
ได้แก่ สารแคลเซียมคลอไรด์ สารแคลเซียมคาร์ไบด์ สารแคลเซียมอ๊อกไซด์
หรือสารผสมระหว่างเกลือแกงกับสารยูเรีย หรือสารผสมระหว่างสารยูเรียกับ
สารแอมโมเนียไนเตรท ซึ่งสารผสมดังกล่าวนี้
แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำก็ตาม แต่ก็สามารถดูดซับไอน้ำจากมวลอากาศ
ได้อันเป็นการกระตุ้นกลไกของ กระบวนการกลั่นตัว
ของไอน้ำในมวลอากาศ อีกทั้งยังเสริมสร้างให้เกิดสภาพแวดล้อมโดยรอบที่เหมาะ
สมต่อการเกิดเมฆทาง ด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมายอีกด้วย
เมื่อเมฆเริ่มเกิดมีการก่อรวมตัวและเจริญเติบโตทางแนวตั้งแล้ว
จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคายความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนว
     ถัดมาทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้น ๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดก้อนเมฆเป็นกลุ่มแกน
ร่วมใน บริเวณพื้นที่ ี่ปฏิบัติการ สำหรับใช้เป็นแกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมา
การวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงในขั้นแรกนี้ก่อนดำเนินการจะต้องทำการศึกษา
ข้อมูลสภาพอากาศและ กำหนดพื้นที่เป้าหมายในแต่ละวันโดยใช้ทิศทาง
และ ความเร็วลมเป็นตัวกำหนดบริเวณหรือแนวพิกัดที่จะโปรยสารเคมี
อุณหภูมิและความชื้นของบรรยากาศแต่ละระดับจะถูกนำมาคำนวณและ
วิเคราะห์ตามวิชาการทางอุตินิยมวิทยา เพื่อหาสาเหตุที่ขัดขวางการก่อตัวของเมฆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการ เช่น

กลับด้านบน
 

   
ขั้นก่อก่วน      
         

    - ปริมาณความชื้นที่ต่ำเกินไป
    - อากาศเกินภาวะสมดุล
    - ระดับความชื้นอิ่มตัว
    - ระดับที่เมฆฝนเริ่มก่อตัว
    - ระดับที่หยุดยั้งการเจริญเติบโตของยอดเมฆข้อมูลอื่นๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วยคือ สภาพถูมิประเทศ เช่นแนวเขา ป่าไม้ แหล่งความชื้น ฯลฯ ลักษณะของเมฆที่สังเกตเห็น ข้อมูล แผนที่ทางอากาศ พายุโซนร้อน และเหตุอื่น ๆ ที่อาจจะมีอิทธิพลต่อสภาพอากาศในพื้นที่เป้าหมาย ทั้งหมดของข้อมูลและสาเหตุต่าง ๆ นี้ความสำคัญต่อการกำหนดชนิดและปริมาณของสารเคมีที่จะนำมาใช้ ในการทำฝนหลวง ซึ่งจะต้องกระทำด้วยความชำนาญควบคู่ไปกับการคำนึงถึงระดับความสูงผนวก กับอัตราการโปรยสารเคมี รวมถึงลักษณะของแนวโปรยสารเคมีด้วย
      ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วนเป็นขั้นตอนสำคัญมากในการปฏิบัติการฝนหลวง เนื่องจากเป็นระยะที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโตจึงใช้ความรู้ทาง เทคโนโลยีและประสบการณ ์ผสมผสานกลยุทธในเชิงศิลปะ แห่งการทำฝนหลวง

ขั้นเลี้ยงให้อ้วน    
ควบคู่ไปพร้อมกันเพื่อตัดสินใจโปรยสารเคมีฝนหลวงที่ทรงค้นคว้าขึ้นมาโดยไม่มีสารอันเป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติงานต้อง
พิจารณาอย่างถ่องแท้ว่าจะใช้สารเคมีชนิดใด และอัตราใดจึงจะเหมาะสม ในการตัดสินใจโปรยสารเคมีฝนหลวงณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลที่จะ
ทำให้ก้อนเมฆขยายตัวหรืออ้วนขึ้นและป้องกันมิให้ก้อนเมฆสลายตัว การวางแผนปฏิบัติการในขั้นตอนนี้จำต้องอาศัยข้อมูลและความต่อเนื่องจาก
ขั้นตอนแรกประกอบ การพิจารณาด้วย การสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพเมฆที่เกิดขึ้น จึงกล่าวได้ว่าขั้นตอนนี้การวางแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง
ตลอดเวลาให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเมฆ ที่เกิดขึ้นมีความสำคัญยิ่ง สารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนนี้มักได้แก่ เกลือแกง สารประกอบสูตร ท.1
(เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากกระบวนการอิเลคโตรไลซิส ซึ่งเป็นผลงานค้นคว้าของ ( ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล) สารยูเรีย สารแอมโมเนียไนเตรท น้ำแข็งแห้ง
และบางครั้งอาจใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ร่วมด้วย โดยพิจารณาลักษณะการเติบโตของเมฆ บริเวณเมฆและการเกิดฝนในวันนั้นๆ เป็นหลัก
   

    
      ขั้นตอนที่ 3 โจมตีเมื่อกลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ โดยภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมายสังเกตได้ถ้าหากเครื่องบินเข้าไปในกลุ่มเมฆนี้แล้ว จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้าของเครื่องบินดังนั้นขั้นตอนสุดท้ายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดเพราะจะต้องอาศัยความชำนาญและ ประสบการณ์เป็นอย่างมากเหนือสิ่งอื่นใดต้องรู้จักใช้เทคนิคในการทำฝนหลวงซึ่งพระองค์ท่านทรงให้ข้อคิดว่าจะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวงด้วยว่า ในการทำฝนหลวงของแต่ละพื้นที่นั้น ต้องตอบสนองความต้องการอันแท้จริงของราษฎรใน 2 ประเด็น คือ เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตกให้กับพื้นที่ (Rain Enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain Distribution) ซึ่งทั้ง 2 วัตถุประสงค์นี้ได้เป็นแนวทางในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของพสกนิกร ให้คลายความเดือดร้อนยามขาดแคลนน้ำเรื่อยมา ตราบเท่าทุกวันนี้ เพราะความต้องการน้ำของมนุษยชาตินับวันแต่จะทวีขึ้นอย่างเกินคาดสืบเนื่องมาจากผลกระทบที่เกิดจากปฏิกิริยาเรือนกระจกของโลก (Green House Effect)ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลดังเช่นในอดีต ฝนหลวงกับการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนหลังจากที่ทรงประสบผลสำเร็จและมีการยอมรับจากทั้งภายในและต่างประเทศแล้วนั้น ปริมาณความต้องการฝนหลวงเพื่อช่วยพื้นที่เกษตรกรรมและการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคได้รับการร้องเรียนขอความช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น เห็นได้ชัดในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2520-2534 มีการร้องเรียนขอฝนหลวงเฉลี่ยถึงปีละ 44 จังหวัด ซึ่งทรงพระเมตตาอนุเคราะห์ช่วยเหลือเกษตรกรไทยในการบรรเทาการสูญเสียทางเศรษฐกิจให้ประสบความเสียหายน้อยที่สุดนอกจากนี้ประโยชน์สำคัญที่ควบคู่ไปกับการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเกษตรกรรม และการอุปโภค บริโภค ก็คือเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้แก่อ่างและเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อการชลประทาน และผลิตกระแสไฟฟ้า แหล่งน้ำและต้นน้ำลำธารธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นการช่วยทำนุบำรุงป่าไม้
โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งความชุ่มชื้นที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากฝนหลวงจะช่วยลดการเกิดไฟป่าได้เป็นอย่างมากฝนหลวงได้เข้ามามีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในการบรรเทามลภาวะที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเราหลายประการ อาทิเช่น ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย ในแม่น้ำลำคลอง โรคระบาด อหิวาตกโรค การระบาดของศัตรูพืชบางชนิด เช่น เพลี้ย ตั๊กแตนปาทังก้า เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่ได้รับความสำเร็จอย่างดีเยี่ยมตลอดมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงได้รับความร่วมมือจากเหล่าพสกนิกรทั่วประเทศที่เห็นคุณค่าของฝนหลวง ดังจะเห็นได้จากการที่ประชาชนในหลายจังหวัด ได้ร่วมกันทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล ในการจัดซื้อเครื่องบินสำหรับทำฝนหลวงเป็นจำนวนมาก

บทบาท "ฝนหลวง" วันนี้

     เริ่มจากแก้ไข "ภัยแล้ง" ก้าวไปสู่การบรรเทา "สาธารณภัย" และเพิ่มพูน "เศรษฐกิจ" ฝนหลวง ต้องเข้ามารับภารหน้าที่ในการบำบัดทุกข์
บำรุงสุข แก่อาณาประชาราษฏร์มากเกินกว่าที่คาดคิดกันไว้นัก เพราะ ฝนหลวง กลับกลายจากจุดมุ่งหวังที่ในครั้งแรก เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่
ประสบภัยแล้งนั้น ได้รับการร้องขอให้ขยายการบรรเทาความเดือดร้อนที่สืบเนื่องจากการพัฒนาอุตสาหกรรมและภาวะสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษอีกด้วย
กล่าวคือ "ฝนหลวง" มีส่วนช่วยเหลือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยหลายประการดังนี้


ด้านการเกษตร
     มีการร้องขอฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงยาวนานซึ่งมีผลกระทบต่อแหล่งผลิตทางการเกษตรที่กำลังให้ผลผลิต
เช่น แถบจังหวัดจันทรบุรี หรือเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธุ์ การทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้กับบริเวณพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่าง ๆ
ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนลดน้อยลง เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน เป็นต้น โดยเฉพาะในปีที่เกิดวิกฤติขาดแคลนน้ำที่เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
สามารถจัดเก็บน้ำจากฝนหลวงนับตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2536 ถึง 28 ตุลาคม พ.ศ.2536 อันเป็นวันสุดท้ายของปฏิบัติการฝนหลวงในปีนั้น
ได้ถึง 4,204.18 ล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ก่อนทำฝนหลวงมีน้ำเหลือเพียง 3,497.79 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น


เพื่อการอุปโภค บริโภค
      ภาวะความต้องการน้ำทั้งจากน้ำฝนและอ่างเก็บน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง เป็นความต้องการที่สามัญของผู้คนอย่างยิ่ง การขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้
มีความรุนแรงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากคุณสมบัติของดินในภูมิภาคนี้เป็นดินร่วนปนทราย ไม่สามารถอุ้มซับน้ำได้
จึงไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ดีเท่าที่ควร o ช่วยในการแก้ปัญหาคุณภาพน้ำ
ภายใต้พื้นดินของภาคอีสานมีแหล่งหินเกลือเป็นจำนวนมากและครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้น อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและ
ขนาดกลางที่ไม่มีทางระบายออก หากมีปริมาณน้ำเหลือน้อย น้ำจะกร่อยหรือเค็มได้ เพราะหินเกลือที่อยู่ด้านล่างเกิดมีการละลาย
แล้วลอยตัวเคลื่อนที่ขึ้นมาบนผิวดิน o ป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม
หากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดน้อยลงเมื่อใด น้ำเค็มจากทะเลอ่าวไทยก็จะไหลหนุนเนื่องเข้าไปแทนที่ทำให้เกิดน้ำกร่อยขึ้น
และเกิดความเสียหายแก่เกษตรกรเป็นจำนวนมาก
จึงจำเป็นที่ต้องมีการปล่อยน้ำจากเขื่อน ภูมิพล เพื่อผลักดันน้ำเค็มมิให้หนุนเข้ามาทำความเสียหายต่อการอุปโภค บริโภค หรือเกษตรกรรม
รวมทั้งสิ่งที่เราอาจไม่คาดคิดมาก่อนว่า "ฝนหลวง" ได้บรรเทาภาวะสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษอันเกิดจากการระบายน้ำเสียทิ้งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และขยะมูลฝอยที่ผู้คนทิ้งลงในสายน้ำกันอย่างมากมายนั้น ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะช่วยผลักดันออกสู่ท้องทะเล
ทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลดลง ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดเจนมากจากขยะมูลฝอยและกระแสน้ำเสียต่างสีในบริเวณปากน้ำจนถึงเกาะล้านเมืองพัทยา


เพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
     บ้านเมืองของเราประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าขึ้นทุกขณะ เนื่องจากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าในปริมาณสูงมากจากการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เมื่อเกิดภาวะวิกฤติระดับน้ำเหนือเขื่อนมีระดับต่ำมากจนไม่เพียงพอต่อการใช้พลังงานน้ำไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า
ส่งให้ผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึง การทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล ให้เพียงพอต่อการผลิตกระแสไฟฟ้านั้นทำให้มีปริมาณน้ำอยู่
ในระดับที่เพียงพอต่อการผลิตกระแสไฟฟ้า การทำฝนหลวงในปัจจุบันโดยใช้วิธีการโปรยสารเคมีจากเครื่องบินเพื่อเร่งหรือเสริมการก่อตัว
และการเจริญเติบโตของเมฆ และ โจมตีกลุ่มเมฆฝนให้เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายที่ต้องการนั้น บางครั้งก็ประสบปัญหาที่
สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนกรรมวิธีให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ในขั้นโจมตีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากฝนตกปกคลุมบริเวณสนามบิน
เกิดลมพายุปั่นป่วนและรุนแรง เครื่องบินไม่สามารถขึ้นปฏิบัติการได้ ทำให้กลุ่มเมฆเคลื่อนที่พ้นพื้นที่เป้าหมาย จากปัญหาต่าง ๆ
เหล่านี้จึงได้มีการค้นคว้าวิจัยทดลองกรรมวิธีทำฝนขึ้น เพื่อพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาพระราชทานแนวความคิดในการวิจัยพัฒนาฝนหลวงเพื่อเกษตรกรหลายประการ คือ
ประการแรก สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบินซึ่งได้มีการทดลองแล้วมีความก้าวหน้าขึ้นมาเป็นลำดับ
ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นทำการผลิตจรวดเชิงอุตสาหกรรม และคาดว่าอีกไม่นานเกินรอ ไทยเราคงได้เห็นผู้นำของการทำฝนหลวงในภูมิภาคนี้อีกครั้งหนึ่ง
ประการที่สอง คือการใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ตามปกติมักลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่นจนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา
หากผลการทดลองลุล่วงเรียบร้อยเมื่อใด ก็คงได้นำไปใช้กันอย่างทั่วถึง
ประการสุดท้าย คือการทำฝนในเมฆเย็นจัด (Super Cooled Cloud) โดยใช้สารที่ทำให้เกิดฝนในกลุ่มเมฆเย็นจัด (ที่อยู่สูงเกินกว่า 18,000 ฟุต) ให้สารนี้เป็นตัวเกิดหรือเร่งเร้ากระตุ้นกลไกของการเกิดผลึกน้ำแข็งในก้อนหรือกลุ่มเมฆนั้น การวิจัยนี้อยู่ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศ
ประยุกต์ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือ ของรัฐบาลไทยและอเมริกาตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา

กลับด้านบน

 


พระราชประวัต
ตราสัญลักษณ์พระไตรปิฏกฉบับคอมพิวเตอร์  โครงการ DLF e-Learning ในหลวงกับการสื่อสารในหลวงกับคอมพิวเตอร

พระราชดำรัสพระราชกรณียกิจด้านการสื่อสารในหลวงกับการถ่ายภาพกังหันน้ำชัยพัฒนาพระราชทานพรปีใหม
กลับหน้าแรก