พระราชประวัต ตราสัญลักษณพระไตรปิฏกฉบับคอมพิวเตอร์  โครงการ DLF e-Learning ในหลวงกับคอมพิวเตอร
พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสารในหลวงกับการถ่ายภาพกังหันน้ำชัยพัฒนาโครงการฝนหลวงวันเทคโนโลยีไทยพระราชทานพรปีใหม ่
กลับหน้าแรก

 

พระราชดำรัสเกี่ยวกับเทคโนโลยี

๑ . พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ณ วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐


   “เป็นที่น่าจะเชื่อได้ว่าท่านทั้งหลายที่รับปริญญาแล้วกำลังมีความปรารถนาทีจะได้นำเอาวิชาความรู้ซึ่งได้ศึกษาและฝึกหัดมาเป็นอย่างดีไปปฏิบัติพัฒนาประเทศ
ให้ก้าวไกลไปอย่างรวดเร็วเพื่อความเจริญและความมั่งคงต่อชาติบ้านเมืองเมื่อพูดถึงการสร้างความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองมักจะคิดกันถึงงานที่ใหญ่โตมากๆ
เช่นการสร้างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เป็นต้น สำหรับประเทศของเราข้าพเจ้าใคร่ขอให้นักวิชาการและปฏิบัติการทางเทคโนโลยีหันมาพิจารณนาถึงการสร้างสรรค์
์อีกแบบหนึ่งด้วยคือการใช้หลักวิชาการและความคิดริเริ่มสร้างงานที่อาจดูไม่ใหญ่โตนักแต่มีประสิทธิภาพสูงและอำนวยประโยชน์โดยตรงได้มากโดยนำเอาทรัพยากร
ธรรมชาติความรู้ความสามารถตลอดจนแรงงานของคนส่วนใหญ่ให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยและให้เกิดการเสียหายหรือความสูญเปล่าน้อยที่สุดการสร้างความเจริญใน
ลักษณะนี้จะช่วยเสริมสร้างความเจริญของกิจการส่วนรวมได้แน่นอน

๒.พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าประจำปีการศึกษา ๒๕๒๐
วันที่ ๓๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑


   “ เทคโนโลยีช่วยประหยัดได้อย่างดีเลิศในการสร้างเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์แต่ก่อนเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทำได้ยากยิ่งและมีราคาสูงคนส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้
้รับประโยชน์จากเครื่องมือดังกล่าวแต่ปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยให้สร้างและผลิตได้โดยง่ายและสะดวกด้วยราคาต่ำอย่างเครื่องรับวิทยุทรานซิสเตอร์เวลานี้ใช้กัน
ได้อย่างแพร่หลายทำให้คนทั่วไปได้รับประโยชน์ในด้านข่าวสารและบันเทิงโดยทั่วถึงในด้านอื่นๆ เช่นเกษตรกรรม อุตสาหกรรมแม้จะเป็นเพียงงานระดับชาว
บ้านเทคโนโลยีก็อาจจะช่วยได้เป็นอย่างดียกตัวอย่างเช่น ยางพาราถ้าทำตามแบบพื้นบ้านซึ่งทำกันตามมีตามเกิดขาดความระมัดระวังในความสะอาดเรียบร้อย
ก็มักได้ยางที่มีคุณภาพต่ำทำให้ขายไม่ได้เต็มราคาแต่ถ้านำเทคโนโลยีอย่างง่ายๆมาใช้ให้มีการใช้กรรมวิธีที่ถูกต้องและแน่นอนสม่ำเสมอก็จะได้ยางแผ่นที่มีคุณ
ภาพได้มาตรฐานขายได้เต็มราคา”

๓. พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ณ อาคารใหม่สวนอัมพร
วันเสาร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๒๓


   “ การใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยในงานต่างๆนั้น ว่าโดยหลักการควรจะได้ผลมากในเรื่องประสิทธิภาพการประหยัดและการทุ่นแรงงานแต่อย่างไรก็ตามก็ยังคง
ต้องคำนึงถึงสิ่งอื่นอันเป็นพื้นฐานและส่วนประกอบการงานที่ทำด้วยอย่างในประเทศของเราประชาชนทำมาหาเลี้ยงตัวด้วยการกสิกรรมและการลงแรงทำงาน
เป็นพื้นการใช้เทคโนโลยีอย่างใหญ่โตเต็มรูปหรือเต็มขนาดในงานอาชีพหลักของประเทศย่อมจะมีปัญหาเช่นอาจทำให้ต้องลงทุนมากมายสิ้นเปลืองเกินกว่าเหต
ุหรืออาจก่อให้เกิดการว่างงานอย่างรุนแรงขึ้นเป็นต้นผลที่เกิดก็จะพลาดเป้าหมายไปห่างไกลและกลับกลายเป็นผลเสียดังนั้นจึงต้องมีความระมัดระวังมากในการ
ใช้เทคโนโลยีปฏิบัติงานคือควรจะพยายามใช้พอเหมาะพอดีแก่สภาวะบ้านเมืองและการทำกินของราษฎร เพื่อให้เกิดประสิทธิผลด้วยความประหยัดอย่างแท้จริง
จึงขอให้บัณฑิตพยายามใช้วิชาการและเทคโนโลยีด้วยความฉลาดรอบคอบทุกแง่ประเด็น”

๔.พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่กรมทหารสื่อสาร วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗

   “ งานสื่อสารที่พึงประสงค์นั้นจะต้องมีประสิทธิภาพเต็มเปี่ยม รวดเร็ว ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลาจึงจำเป็นที่จะต้องพยายามศึกษาค้นคว้าวิทยาการและเทคโนโลย
ีอันก้าวหน้าให้ลึกซึ่งอย่างกว้างขวางและรู้จักพิจารณานำส่วนที่ดีมีประโยชน์มาใช้ด้วยความริเริ่มและความเฉลียวฉลาดเพื่อให้งานที่ทำพัฒนาอย่างเต็มที่และอำนวย
ประโยชน์สร้างเสริมเสถียรภาพของบ้านเมืองได้อย่างสมบูรณ์แท้จริง”

 

๕ . พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาเรื่องการประยุกต์เทคโนโลยีการถ่ายทำภาพถ่ายทางอากาศและดาวเทียมในการวางแผน
การใช้ที่ดินลุ่มน้ำทางเหนือของประเทศไทย ณ โรงแรมรินคำ จังหวัดเชียงใหม่วันจันทร์ที่ ๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๓


   “ สรรพสิ่งทั้งหลายดำรงอยู่พร้อมกันเจริญยังยืนไปได้ เพราะมีความสมดุลในตัวเอง อย่างชีวิตมนุษย์เรานี้ดำรงอยู่ได้เพระมีออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอนอันเป็นส่วนประกอบสำคัญของชีวิต ได้สัดส่วนกัน เมื่อใดประกอบอันเป็นแก่นแกนของชีวิตส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่องขาดหายไป ไม่อาจแก้ไข ให้คงคืนสมดุลได้ เมื่อนั้นชีวิตก็เสื่อมโทรมแตกดับธรรมชาติอื่นๆตลอดจนสิ่งที่มนุษย์ปรุงแต่งสร้างสรรค์สร้างขึ้นเช่น เครื่องจักร โรงงาน อาคาร บ้านเรือน แม้กระทั่งเศรษฐกิจ กฎหมาย และทฤษฎีต่างๆก็เหมือนกันล้วนต้องมีส่วนประกอบที่สมดุลทั้งสิ้น เมื่อบัณฑิตทั้งหลายทราบแน่ชัดในเรื่องความสมดุลของสรรพสิ่งทั้งปวงดังกล่าวแล้วควรอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามใช้ความรู้ความคิดวิทยาการพร้อมทั้งความฉลาดสามารถทุกอย่างในตัวเอง รักษาสมดุลของสิ่งต่างๆไว้ให้ได้มั่งคงแท้จริงเชื่อว่าถ้าทุกคนทุกฝ่ายถือปฏิบัติได้ครบถ้วนทั่วกันจะทำความเสื่อมโทรมสูญเสียตลอกจนอุปสรรคและปัญหาสารพัดที่รุมเร้าอยู่ในทุกวันนี้ทุเลาเบาบางและคลี่คลายไปด้วยดีได ้“การมานี้ มาสังเกตการณ์เท่านั้นเอง ไม่ได้นึกว่าจะต้องมากล่าวอะไรแก่ผู้ที่มาประชุมแต่ตามที่ได้ฟังกลุ่มที่๑กับกลุ่มที่๒รายงานผลงานก็เห็นได้ชัดว่ามีความสำคัญที่จะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับช่วยทำกิจกรรมที่เป็นสิ่งที่สำคัญมากคือการพัฒนาโดนเฉพาะในที่สูงของภาคเหนือซึ่งจะมีผลถึงไม่ใช่บริเวณนี้ แต่จะเป็นผลต่อลุ่มน้ำที่ลงไปจนถึงภาคกลางถ้าจัดการไม่ดีก็จะทำให้มีการเสียหายทางด้านชลประทานอย่างมากนอกจากนี้เป็นผลในทางสังคมหรือจะเรียกว่าทางทรัพยากรมนุษย์หรือประชากรจนกระทั่งถึงความมั่นคงของชาติในด้านความปลอดภัยของชาติเป็นส่วนร่วม...ก็จะมาพูดถึงเรื่องใช้กล้องหรือใช้เครื่องมือเทคโนโลยีพิเศษได้เพราะว่าถ้ามีเทคโนโลยีพิเศษแล้วไม่มีความสอดคล้องงานแบบนั้นก็จะเป็นหมันที่มาประชุมกันในที่นี้ก็เข้าใจว่าเป็นเรื่องของการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าซึ่งทางUNDPได้เอื้อเฟื้อเครื่องมาอย่างเร่งด่วนการขอร้องให้นำเครื่องมาใช้ก็ได้รับการสนองได้โดยเร็วทันใจ”
 

 

กลับด้านบน

๖ . พระราชดำรัส พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสเมื่อทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยพระองค์เองเป็นครั้งแรก ความว่า

   “เดี๋ยวนี้เด็กๆ อายุ ๑๐ ขวบเล่นคอมพิวเตอร์เป็นอย่างนี้ข้าพเจ้าก็รู้สึกมีปมด้อยขึ้นมาว่าเล่นคอมพิวเตอร์ไม่เป็น...แล้ววันหนึ่งก็มีคนเอาคอมพิวเตอร์มาให้บอกว่า อันนี้
เขียนดนตรีก็เลยรับเอาไว้ที่จริงรับเอาไว้เขาไม่ได้ให้ เพราะว่าไปซื้อมาก็เงินของเราเองเราซื้อเราก็ยังกลัวมองดูแล้วไม่รู้จะทำอย่างไงแต่ถึงตอนปีใหม่ก่อนปีใหม่นิดนึงก็ ็เอาคอมพิวเตอร์ขึ้นไปตั้งในห้องทำงานแล้วก็จิ้มไปเขาบอกว่าเขียนหนังสือได้เขียนรูปได้ ก็เริ่มลองเขียนหนังสือ ก็เขียนสำหรับอวยพรปีใหม่เป็นบัตร ส.ค.ส.แล้วก็เขียน
ไปๆ เอ้อ..ออกมาได้ เขียนออกมาเป็นตัวได้ก็แปลกดีเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ม.ล. อัศนี ปราโมช ทูลเกล้าฯถวายเพื่อพระองค์ทรงใช้งานเป็นครั้งแรกในสมัยนั้นมีคุณสมบัติ
ิอย่างหนึ่งคือสามารถเก็บและพิมพ์โน้ตเพลงได้การเรียนรู้และใช้งานของเครื่องก็ไม่ยากและยังสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์พิเศษสำหรับเล่นดนตรีตามโน้ตเพลงที่เก็บไว้ได้ ้ด้วยพระองค์จึงทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นี้สนับสนุนงานส่วนพระองค์ด้านดนตรี ในการพระราชนิพนธ์บทเพลงจำนวนมาก

๗. พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะผู้จัดทำนิตยสารทรานสปอร์ต แอนด์ คอมมูนิเคชั่น ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน
พุทธศักราช ๒๕๓๒


   “เทคโนโลยีทุกอย่างมีประโยชน์ แต่จะต้องรู้จักนำมาใช้ให้ถูกกับสถานการณ์ เช่นระบบโทรศัพท์บ้านเราตอนนี้ก็ใช้ระบบสายโทรศัพท์ ในประเทศยังใช้ไมโครเวฟซึ่ง
มีปัญหา มีความขาดแคลน มีความไม่ชัดเจน ระบบดาวเทียมที่ทันสมัยก็อาจจะนำมาใช้ได้ในแง่ของโทรศัพท์และดาวเทียวก็สามารถที่จะติดต่อได้ดีในระยะไกล
็หมายความว่า หากใช้ดาวเทียมจากแค่สามเสนไปบางเขนมันก็ไม่คุ้ม เป็นการขี่ช้างจับตั๊กแตนและเครื่องเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างนี้ หากไม่มีการเตรียมระบบไว้รองรับก็จะ ยุ่ง คือมีของมาใช้แต่ใช้ไม่ได้ หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่”

๘. พระราชดำรัส พระราชทาน ณ ศาลาดุสิตดาลัย เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖

   “...เรามานึกถึงทางวิศวกรรมรถยนต์คันหนึ่ง ทุกส่วนของรถยนต์ต้องทำให้สอดคล้องกัน ถ้าไม่สอดคล้องกันรถพังและไม่ได้ผลของการใช้รถยนต์ ถ้าล้อหน้าหมุนไปเดิน
หน้า ล้อหลังหมุนไปถอยหลังมันก็ไปไม่ได้ มันต้องหมุนสอดคล้องกัน แต่ว่าอย่างเช่น ล้อหมุนไปทางพวงมาลัยหมุนไปอีกทางจะให้หมุนเหมือนกับล้อ ก็จะขับรถไม่ได้อะไรๆ ต้องมีหน้าที่ของตัวพวงมาลัยก็ต้องหมุนไปทางและหมุนกลับไปอีกทางจึงจะเหมาะสม เพราะเขามีหน้าที่อย่างนั้น เครื่องยนต์ก็หมุนช้าเท่านั้นๆล้อหมุนเร็วเท่านั้นถ้า
เครื่องยนต์กับล้อหมุนเร็วเท่ากัน ก็จะทำให้รถไม่มีกำลังอย่างเวลาไปต้องใส่เกียร์ก็ต้องทดเครื่องก็ต้องหมุนเร็วกว่าล้อไม่อย่างนั้นไม่มีแรงก็มีความแตกต่างกันในหน้าที่มีความ
แตกต่างกันในทิศทาง คนก็เหมือนกันถ้าหากว่าคนมีหน้าที่ที่จะทำอะไรอย่างหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องมีหน้าที่เหมือนกันแต่ก็ต้องสอดคล้องเพื่อให้งานส่วนนั้น
ดำเนินไป ถ้าอยู่ในหมู่คณะเดียวหรือในคณะทำงานเดียวก็จะต้องให้สอดคล้องกัน ให้งานนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้...”

 

 

๙. พระราชดำรัส พระราชทานแก่นายทหารชั้นนายพล ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๒๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕

   “ในด้านการโทรคมนาคม ทหารทั้งสามกองทัพก็มีวิทยุและมีเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ที่ครบถ้วนให้ใช้สื่อสารเหล่านี้เพื่อที่จะรายงานเหตุการณ์ต่างๆ ในท้องที่และในท้องที่ ที่อาจไม่ได้เป็นที่ตั้ง ออกไปลาดตระเวน ก็เชื่อว่าจะเป็นการช่วยได้อย่างมากและจะต้องร่วมมือกันทั้งสามเหล่าทัพเพื่อที่จะใช้ความสามารถและเครื่องมือที่มีอยู่ให้สอดคล้อง
และสอดคล้องกับฝ่ายพลเรือน คือ ฝ่ายกรมอุตุนิยม และฝ่ายมหาดไทย ที่จะสามารถช่วยประชาชนให้รอดพ้นจากอันตรายได้”

 



๑๐. พระราชดำรัสเกี่ยวกับการสื่อสารในเครือข่ายวิทยุสมัครเล่น พระราชทานเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๒ มีใจความตอนหนึ่งว่า

   “ขอขอบใจท่านที่มาให้พรและนำประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั้นสูงและสัญญาณเรียกขานมาให้ ทำให้ปลื้มใจมาก เพราะถือว่าผู้ที่ทำการในด้านวิทยุสมัครเล่น
และวิทยุอาสา ต้องปฏิบัติการมาเป็นเวลานานพอสมควร และข้าใจถึงเรื่องวิทยุ และวิธีศึกษาได้ดี ก็จะต้องเห็นประโยชน์ของการสื่อสารที่มีต้อสังคมและประเทศชาติ
ซึ่งผู้
ู้ดำเนินงานในด้านงานวิทยุสื่อสารนี้ ต้องมีทั้งความสามารถ ความสนุกสนานและความสนใจและได้รับประโยชน์ในส่วนของตัวเองเป็นอันมากทั้งจะต้องเห็นว่าวิทยุสื่อสาร นี้เป็นประโยชน์อย่างไร ในการพัฒนาและรักษาความมั่นคงของประเทศ...สิ่งหนึ่งที่ได้เห็นและเห็นใจเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมความถี่ มีคลื่นวิทยุที่กวนซึ่งกันและกันมาก ทั้งโดย
ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ถ้าเป็นโดยตั้งใจก็เป็นสิ่งควรแนะนำตักเตือน ถ้าเป็นโดยไม่ตั้งใจคือทางวิชาการของการแพร่คลื่นวิทยุ ย่อมต้องมีการรบกวนซึ่งกันและกันโดยไม่ตั้งใจ
แต่
่เป็นธรรมชาติตามวิชาการของการแพร่กระจายคลื่นวิทยุที่คลื่นหนึ่ง อาจไปกวนอีกคลื่นหนึ่งได้อย่างนี้ ถ้าเรียนรู้กันและมีวิธีแก้ไขก็จะเป็นการดีทางฝ่ายควบคุมความถี่นี้จึง
ีความรับผิดชอบมาก...การกวนซึ่งกันและของกันของความถี่มาจากธรรมชาติ ความถี่ที่กวนกันนั้น ส่วนหนึ่งไม่มีทางแก้ไขและส่วนหนึ่งแก้ไขได้ คือต้องปรับเครื่องให้ดี รักษา
ระดับความถี่ให้ดี ทั้งรักษากำลังเครื่องให้ถูกต้อง แจกจ่ายความถี่ไปในพื้นที่ที่เหมาะสมและการทำงานโดยมีวินัย”

กลับด้านบน
 

พระราชประวัต ตราสัญลักษณพระไตรปิฏกฉบับคอมพิวเตอร์  โครงการ DLF e-Learning ในหลวงกับคอมพิวเตอร
พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสารในหลวงกับการถ่ายภาพกังหันน้ำชัยพัฒนาโครงการฝนหลวงวันเทคโนโลยีไทยพระราชทานพรปีใหม ่
กลับหน้าแรก